ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความกังวล ความเครียด และภาวะซึมเศร้า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของพนักงานโรงงานแห่งหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กุลณ์วลี กิจวัฒนะโภคิน โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
  • ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์ โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคโควิด 19, ความกังวล, ความเครียด, ภาวะซึมเศร้า, โรงงาน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความกังวล ความเครียดและภาวะซึมเศร้า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของพนักงานโรงงานแห่งหนึ่งในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบวิจัย เป็นการศึกษาแบบตัดขวางในพนักงานโรงงานแห่งหนึ่ง จำนวน 385 คน เก็บข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2564 โดยใช้แบบสอบถามความกังวลต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบประเมินความเครียด ST5 และแบบประเมิน ซึมเศร้า 9Q วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความกังวลความเครียดและภาวะซึมเศร้า โดยใช้สถิติ logistic regression ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้มีอายุเฉลี่ย 33.7 ปี (SD=10.2) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด ไม่มีโรคประจำตัว มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท/เดือน ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงในการ ติดเชื้อโควิด 19 การศึกษาพบว่ามีความชุกของความกังวลร้อยละ 81.0 มีความเครียดร้อยละ 11.7 และมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 11.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์คือ เพศหญิงมีความกังวล และความเครียดมากกว่าเพศชาย สถานภาพสมรส พบว่า มีภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าสถานภาพโสด การมีพฤติกรรมไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยและมีการรวมกลุ่มสังสรรค์ กับเพื่อนเป็นประจำ มีความกังวลกับโรคโควิด 19 น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้