การคัดกรองเชิงรุกเพื่อค้นหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชาชนพื้นที่เสี่ยง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • จรัญ จันทมัตตุการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก
  • กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การคัดกรองเชิงรุก, ชายแดนไทย-เมียนมา

บทคัดย่อ

ในช่วงปลายปี 2563 ถึงมกราคม 2564 พบมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลายราย บริเวณชายแดนไทยเมียนมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งอาจนำมาซึ่งการระบาดภายในประเทศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรอง เชิงรุกค้นหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประชาชนพื้นที่เสี่ยง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ใน กลุ่มเป้ าหมาย คือประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีชาวเมียนมาอาศัยอยู่มาก และมีรายงานผู้ป่ วย หรือสงสัยมีการระบาด ของโรค ได้แก่ ตลาดสดพาเจริญ ชุมชนเมียนมาอันซอร์ คลังสินค้า และโรงงานบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา เครื่องมือ ที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การswab ด้วยวิธี nasopharyngeal swab ดำเนินการในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดย ตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี real-time RT-PCR ที่ห้องปฏิบัติการที่ผ่านการทดสอบ ความชำนาญ เครือข่ายตรวจ SARS-CoV-2 ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป นำเสนอผลเป็นค่าความถี่ ค่าร้อยละ ช่วงเชื่อมั่น 95% ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ตรวจกลุ่มเป้ าหมายทั้งหมด 4,296 ราย พบผู้ติดเชื้อร้อยละ 1.7 (95%CI=1.2-2.1) จำแนก เป็นกลุ่ม ตลาดพาเจริญ ตรวจ 3,208 ราย พบผู้ติดเชื้อร้อยละ 0.6 (95%CI=0.3-0.8) ชุมชนอันเซอร์ ตรวจ 499 ราย พบผู้ติดเชื้อร้อยละ 2.8 (95%CI=1.3-4.2) คลังสินค้า ตรวจ 417 ราย พบผู้ติดเชื้อร้อยละ 9.4 (95%CI=6.5- 12.1) และโรงงานตรวจ 172 ราย ไม่พบผู้ติดเชื้อ การติดเชื้อพบทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ พบทั้งชายและหญิง ใกล้เคียงกัน เมื่อพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือสงสัยมีการระบาดในบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา การคัดกรองเชิงรุกเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่เสี่ยงจะมีประโยชน์ จึงควรต้องรณรงค์ตามมาตรการ DMHTT ควรส่งเสริมการป้ องกันอย่างเคร่งครัดในชุมชนแออัด

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ