การพัฒนารูปแบบการให้บริการระบบข้อมูล กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท เข้าสู่ระบบข้อมูลดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ชัยวัฒน์ สิงห์หิรัญนุสรณ์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท
  • กฤษดา ดำขำ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท
  • อรุณรัตน์ อรุณเมือง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ระบบข้อมูล, รูปแบบ Chainat GECC Smart Model

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบและพัฒนารูปแบบ การให้บริการระบบข้อมูล กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทเข้าสู่ระบบข้อมูลดิจิทัล และประเมินประสิทธิภาพ ของระบบข้อมูลกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทเข้าสู่ระบบข้อมูลดิจิทัล ระยะเวลา ศึกษาเดือนพฤศจิกายน 2564 – เมษายน 2565 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้งานระบบทั้งหมด ในระดับผู้บริหารของหน่วยงาน จำนวน 21 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่ จำนวน 42 คน กลุ่มผู้ดูแลระบบ จำนวน 12 คน และ ผู้รับอนุญาตทั้งหมดจากฐานข้อมูลผู้รับบริการ ณ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ จำนวน 398 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 473 คน ทำการศึกษาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 เมษายน 2565 เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือทีใช้ คือ แบบสอบถาม- ่ ออนไลน์ แบ่งเป็น 4 ชุด ดังนี้ ชุดที 1 แบบสอบถามเรื่องการพัฒนารูปแบบการให้บริการระบบข้อมูลกลุ่มงานคุ้มครอง- ่ ผู้บริโภคฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทเข้าสู่ระบบข้อมูลดิจิทัลสำหรับผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มงานฯ ชุดที่ 2 แบบสอบถามฯ สำหรับเจ้าหน้าที่ ชุดที่ 3 แบบสอบถามฯ สำหรับผู้ดูแลระบบ และชุดที่ 4 แบบสอบถามฯ สำหรับ ผู้ประกอบการทั้งหมดจากฐานข้อมูลผู้รับบริการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการ ศึกษาได้รูปแบบการให้บริการระบบข้อมูลดิจิทัลของงานคุ้มครองผู้บริโภค ที่เรียกว่า FDA Chainat GECC Smart Model สามารถเป็นต้นแบบให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศในการพัฒนาระบบการให้บริการ ด้านระบบข้อมูลกลุ่มงานฯ เข้าสู่ระบบข้อมูลดิจิทัล ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคฯ ตามมาตรฐานศูนย์ราชการสะดวกที่พัฒนาระบบข้อมูลเพิ่มขึ้น และผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบข้อมูล พบ ว่า กลุ่มผู้บริหารและผู้ดูแลระบบมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก กลุ่มผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ มีระดับความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่ารับบริการในทุกกลุ่มพึงพอใจต่อรูปแบบใหม่นี้ อยู่ ในระดับมากเหมือนกัน และสามารถเป็นต้นแบบให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคฯ ตามมาตรฐานศูนย์ราชการสะดวกที่พัฒนาระบบข้อมูลเพิ่มขึ้นให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศใน การพัฒนาระบบการให้บริการด้านระบบข้อมูลกลุ่มงานฯ เข้าสู่ระบบข้อมูลดิจิทัล นำไปสู่การกำหนดนโยบายระดับชาติต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ