ต้นทุนการคลอดบุตร ณ โรงพยาบาลศิริราชภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
คำสำคัญ:
คลอดบุตร, ต้นทุน, ค่าใช้จ่าย, มูลค่าบทคัดย่อ
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และเป็นส่วนสําคัญของสวัสดิการสังคม ระบบประกันสุขภาพมีค่าใช้จ่าย ทั้งค่ายใช้จ่ายทางตรง และค่าใช้จ่ายทางอ้อม การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาต้นทุน การคลอดบุตรด้วยวิธีการคลอดปกติทางช่องคลอด(ไม่รวมการคลอดด้วยคีม เครื่องดูดทางช่องคลอด และการ ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ที่โรงพยาบาลศิริราชภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี งบประมาณ 2559 วิธีการ ศึกษาใช้การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเริ่มดําเนินการตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559 โดย ศึกษาจากข้อมูลหญิงที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลศิริราชจำนวน 7,988 รายและคัดเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เข้าเงื่อนไข แบ่งเป็น คลอดปกติทางช่องคลอดจำนวน 98 ราย และการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องจำนวน 8 ราย โดยคิดต้นทุน การคลอดบุตรในมุมมองของผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ต้นทุนรวมในการให้บริบาลหญิงที่มาคลอดบุตรในโรงพยาบาลศิริราช เท่ากับ 2,238,971.37 บาท สูงสุดเป็นต้นทุนทางตรง เท่ากับ 1,837,926.65 บาท คิดเป็นร้อยละ 82.1 และต้นทุนทางอ้อม เท่ากับ 401,044.72 บาท คิดเป็นร้อยละ 17.9 โดยต้นทุนทางตรงสูงสุดคือต้นทุนที่ไม่ ได้เก็บค่าบริการทางการแพทย์ เท่ากับ 1,677,110.92 บาท รองลงมาเป็นต้นทุนค่ายาเวชภัณฑ์การแพทย์และ ต้นทุนค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ เท่ากับ 139,239.50 บาท และ 21,576.23 บาท ส่วนต้นทุนทางอ้อม เท่ากับ 401,044.72 บาท โดยแบ่งเป็นต้นทุนทางอ้อมของสายบริการ เท่ากับ 290,412.41 บาทและต้นทุนทางอ้อมสาย สนับสนุน เท่ากับ 110,632.31 บาท สรุปได้ว่าต้นทุนต่อครั้งของการคลอดปกติ เท่ากับ 17,685.61 บาท และ ต้นทุนต่อครั้งของการผ่าตัดคลอด เท่ากับ 63,222.64 บาท ส่วนต้นทุนต่อวันนอนในโรงพยาบาลของการคลอด ปกติ 5,171.23 บาท และต้นทุนต่อวันนอนในโรงพยาบาลของการผ่าตัดคลอด เท่ากับ 12,644.53 บาทส่วนต้นทุน การให้บริบาลหญิงที่มาคลอดบุตรในโรงพยาบาลศิริราชในมุมมองของผู้รับบริการ เท่ากับ 1,217.71 บาท เป็นต้น ทุนที่ไม่ใช่ด้านการแพทย์ เท่ากับ 203.33 บาท และต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการมารับบริการ เท่ากับ 1,014.38 บาท
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Techakehakij W, Singweratham N, Wongphan T. Unit costs and budget impact of public compulsory programs for health promotion and disease prevention in Thailand. Bangkok: Aksorn Graphic and Design Publishing Limited Partnership; 2016.
Anekpornwattana S, Yangnoi J, Jareemit N, Borriboonhiransan D. Cesarean Section Rate in Siriraj Hospital 15 According to the Robson Classification. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology 2020;28(1):6-15.
Carrin G, Evlo K. A methodology for the calculation of health care costs and their recovery. Geneva: World Health Organization; 1995.
Creese A, Parker D. Cost analysis in primary health care: A training manual for program manager. Geneva:World Health Organization: 2000.
Cunningham FG, MacDonald PC, Gant NF, Lenovo KJ, Gilstrap III LC, Hankins GDV, et al, editors. Williams Obstetrics. 21st ed. Stamford: Appleton & Lange; 2001.
Cunningham FG, MacDonald PC, Gant NF, Lenovo KJ, Gilstrap III LC, Hankins GDV, et al, editors. Williams obstetrics. 21st ed. Stamford: Appleton & Lange; 2001.
Michael F. Drummond, Bernie O’Brien, Greg L. Stoddart, George W. Torrance. Method for the economic evaluation of health care programmes. 2nd ed. Oxford: Medical Publication; 1997.
Thapkhoksong T, Kongsin S, Jiamton S, Prasithsirikul S. Activity based costing analysis on general anesthetic service of anesthesiology department in Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute Nonthaburi. Journal of Health Science 2017;26(5):937-46. (In Thai)
Saowapa C, Kongsin, S, Jiamton S, Yosapon L. Hospital care cost analysis of normal delivery of migrant workers, fiscal year 2015: a case study of Ko Chang Hospital, Trat Province. Journal of Health Science 2018;27(5):927-35. (In Thai)
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.