ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตสุขภาพที่ 2

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล พูลวิเชียร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วุฒิชัย จริยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ภาวะหมดไฟในการทำงาน, พลังสุขภาพจิต, โปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตต่อภาวะหมดไฟในการ ทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. ในเขตสุขภาพที่ 2 ที่มีภาวะหมดไฟ ในการทำงาน จำนวนทั้งสิ้น 68 คน อาศัยอยู่ในอำเภอเนินมะปรางและอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มควบคุม 34 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับสุขภาพจิตศึกษาตามปกติ กลุ่มทดลองได้ รับโปรแกรมฯ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย การค้นพบสถานการณ์จริง การสะท้อนคิดอย่างมี วิจารณญาณ การจัดการกับสถานการณ์ และการคงไว้ซึ่งพลังสุขภาพจิต เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามพลัง สุขภาพจิตและแบบสอบถามภาวะหมดไฟในการทำงานทั้งก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ หลังสิ้นสุดโปรแกรมฯ และระยะ ติดตาม 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Chi-square tests, Fisher’s Exact Test, Independent samples t-test, Repeated measure ANOVA และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย Bonferroni ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพลังสุขภาพจิตหลังการทดลองและระยะติดตาม 3 เดือน มากกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระยะติดตาม 3 เดือน มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05, กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะหมดไฟในการทำงานหลังการทดลองและระยะติดตาม 3 เดือน ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เช่นเดียวกันกับหลังการทดลองและระยะ ติดตาม 3 ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Office of Primary Health Care. Primary health care in Thailand. The Four-Decade Development of 1978 – 2014 [Internet]. 2020 [cited 2020 Nov 24]. Available from: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/ ifm_mod/nw/phc-eng.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แนวคิดเกี่ยวกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://phc.moph.go.th

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. แบบรายงานระบบฐานข้อมูล อสม. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaiphc.net/new2020/ content/1

อ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ ความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบล พระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารการ พยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา 2562;20(2):82-91.

พรรณราย ทรัพยะประภา. จิตวิทยาในการจัดการกับ ความเหนื่อยหน่ายและความเครียดในการทำงาน. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ 2557;1(1):24-39.

อิษฎา เจตินัย. ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟใน การทำงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ ประยุกต์ 2563;13(1):1-14.

กรมสุขภาพจิต. เจาะลึกภาวะ burnout syndrome วิธีแก้และ กิจกรรมที่จะช่วยเติมพลังในตัวคุณ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 8 ก.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.ryt9. com/s/iqml/3085580

Maslach C, Jackson SE. Maslach burnout inventory [Internet]. 2020 [cited 2020 Oct 2]. Available from: https://www. psychosomatik.com/wp-content/uploads/2020/03/Maslach-burnout-inventory-english. pdf

ทัศนีย์ สิรินพมณี. การรับรู้ภาระงาน สัมพันธภาพในงาน การ สนับสนุนทางสังคมต่อความเหนื่อยหน่ายในงานของ พยาบาลวิชาชีพ โดยมีอิทธิบาทสี่เป็นตัวแปรกำกับ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563;2(30):58-71.

กรมสุขภาพจิต. ภาวะหมดไฟในการทำงาน (burnout syndrome) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ย. 2563]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2445

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2. การสำรวจภาวะสุขภาพจิตอาสาสมัคร สาธารณสุขประจาหมู่บ้าน เขตสุขภาพที่ 2 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 18 ก.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www. mhc2.go.th/burnout/

โรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลก. ข้อมูลผู้รับบริการปัญหา สุขภาพจิต [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 เม.ย. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.pph.go.th

ฐิติรัตน์ ดิลกคุณานันท์. ความเครียดจากการทำงาน การ สนับสนุนทางสังคม และพลังสุขภาพจิตของพยาบาลทีปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัด ชายแดนใต้. วารสารสภาการพยาบาล 2561;33(2):70-82.

นุชนาฏ ธรรมขัน. พลังสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริ ญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556. 151 หน้า.

Grotberg EH. A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit [Internet]. 2022 [cited 2022 Sep 27]. Available from: https://bibalex.org/ baifa/attachment/documents/115519.pdf

ทิพสุดา นุ้ยแม้น. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่อพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมุสลิม[วิทยานิพนธ์ปริญญาปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2554. 140 หน้า.

กชกร ฉายากุล. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต ในนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. วารสารการพยาบาล 2561;24(2):96-107.

สยาภรณ์ เดชดี. การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อ ความเข้มแข็งในการมองโลกและพลังสุขภาพจิตในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2562;27(3):196-210.

กริณี สังข์ประคอง. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลัง สุขภาพจิตต่อพลังสุขภาพจิตในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มี พฤติกรรมรุนแรง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2562;2(2):1-20.

Gibson CH. A concept analysis of empowerment [Internet]. 2022 [cited 2022 Sep 27]. Available from: https:// online library.wiley.com/doi/10.1111/j.1365-2648. 1991.tb01660.x

Bernard A. Fundamentals of biostatistics (5th ed.) [Internet]. 2022 [cited 2022 Sep 27]. Available from: https://handoutset.com/wp-content/uploads/ 2022/07/Fundamentals-of-Biostatistics-5th-Edition-without-Data-Disk-Bernard-Rosner.pdf

สยาภรณ์ เดชดี. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพ จิตที่มีต่อระดับพลังสุขภาพจิตและภาวะซึมเศร้าของสตรี ผู้สูญเสียสามีจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2561;27(3):103-16.

Mauchly JW. Significance test for sphericity of a normal n-variate distribution. Annals of Mathematical Statistics 1940;11(2):204–9.

Greenhouse SW, Geisser S. On methods in the analysis of profile data. Psychometrika 1959;24:95–112.

Bland JM, Altman DG. Multiple significance tests: the Bonferroni method. BMJ 1995;310(6973):170.

ชนิดา เตชะปัน. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการ ดำเนินงานด้านสุขศึกษาชุมชน ในเทศบาลตำบลป่ าไผ่ อำเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2561. 149 หน้า.

เนติยา แจ่มทิม. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรที่เสี่ยงต่อ การเป็นโรคความดันโลหิตสูง ตำบลโคกคราม อำเภอ บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2559;22(1):65-76.

วิภา เพ็งเสงี่ยม. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่อการรับรู้พลังอำนาจ และการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุภาวะ สมองเสื่อม ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2558;8(1):152-65.

อภิชาติ กาศโอสถ. การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลัง อำนาจสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. พยาบาลสาร 2563; 47(3):168-80.

กชพร เผือกผ่อง. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่อการควบคุมตนเองของผู้เสพติดแอมเฟตามีน. วารสารพยาบาลทหารบก 2561;19(ฉบับพิเศษ):118-28.

ประมวล ตรียกุล. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้ม แข็งทางใจต่อภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ป่ วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2563;28(2):76-89.

นันทาวดี วรวสุวัส. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางใจ ป้องกันภาวะหมดไฟดูแลใจคนทำงาน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 (EPI-BPmodel) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ย. 2563]. แหล่ง ข้อมูล https://mhc7.go.th/archives/6623

กรมสุขภาพจิต. 5 กลยุทธ์ในการต่อสู้กับภาวะหมดไฟจาก การทำงาน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ย. 2563]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2270

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-02-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้