ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อน้ำหนักตัวของวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ธนภรณ์ วิโรจน์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • พนิดา เตบเส็น สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ดุษณีย์ สุวรรณคง สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ตั้ม บุญรอด สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ชำนาญ ชินสีห์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการกำกับตนเอง, ประชาชนวัยทำงาน, ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อน้ำหนักของประชาชนวัยทำงานที่มี ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 45-59 ปี จำนวน 78 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (BMI เท่ากับ 25.80 กก./ม2 ) และกลุ่มควบคุม (BMI เท่ากับ 28.63กก./ม2 ) กลุ่มละ 39 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม การกำกับตนเอง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมมีการดูแลสุขภาพตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบ ด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการควบคุม อารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน พบว่า เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง ภายหลัง การให้โปรแกรมมีค่ามัธยฐานน้ำหนักตัว (62.70 กก.) และดัชนีมวลกาย (25.29 กก./ม2 )ลดลงเมื่อเทียบกับก่อน การให้โปรแกรม (64 กก. และ 25.80 กก./ม2 ) พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายและการควบคุม อารมณ์ดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการให้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนกลุ่มควบคุมมีพฤติกรรม การบริโภคอาหารและพฤติกรรมการควบคุมอารมณ์ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ขณะที่น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบหลังการให้โปรแกรม พบว่า น้ำหนักตัวและดัชนีมวลกายของกลุ่มทดลอง ลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการควบคุมอารมณ์ดีกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำโปรแกรมการกำกับตนเองไปใช้ ในการส่งเสริมสุขภาพของประชากรวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ให้มีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์มาตรฐานและ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ลดการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนได

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Obesity and overweight [อินเทอร์เน็ต]. 2021 [สืบค้นเมื่อ 11 ธ.ค.2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/ detail/obesity-and-overweight.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ความชุกของ ประชากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 17 ธ.ค. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/.

สำนักงานสถิติเเห่งชาติ. วัยทำงานกับการดูแลสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 2 ก.ย. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: http:// www. nso.go.th/sites/2014/Pages/.

บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์. กรมสุขภาพจิตเผยวัยทำงานเสี่ยง เกิดเครียดได้สูง แนะ 10 วิธีดูแลใจให้มีสุขรายวัน มีผลงาน ดีขึ้น [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 21 ก.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://th.rajanukul.go.th/.

สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย. กรมอนามัยเผยวัยทำงานมี ภาวะอ้วนและหลัก 3อ 2ส 1ฟ 1น ลดเสี่ยง [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 30 เม.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https:// multimedia. anamai.moph.go. th/news.

ปราณี จันธิมา, สมเกียรติ ศรีธาราธิคุณ. ผลของการสนับสนุน การจัดการตนเองต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพใน กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนลงพุง. พยาบาลสาร 2560;44(2):162– 71.

ปริชมน พันธุ์ติยะ. โรคอ้วนในวิชาชีพแพทย์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2563;14(1):19–25.

ปวีณา ประเสริฐจิตร, วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์, ชวนันท์ สุมนะ เศรษฐกุล. วิถีชีวิตคนเมืองวัยทำงานที่มีผลต่อภาวะอ้วน ลงพุง: กรณีศึกษาบุคลากรคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2563;64(1): 73–84.

ภาณุพงษ์ ชาเหลา, วงศา เล้าหศิริวงศ์, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์, กิตติ ประจันตเสน. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับภาวะนํ้าหนักเกินและโรคอ้วน ของบุคลากรสาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลจังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 2561;23(2):5–17.

ระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์. โรคที่มากับความอ้วน [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ค.2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.si. mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/ articledetail.asp?id=972

สุพิณญา คงเจริญ. โรคอ้วน:ภัยเงียบในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2017;11(3):22–9.

Bandura A. Social foundations of thought and action: a social cognitive theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall; 1986.

Teixeira PJ, Carraca EV, Marques MM, Rutter H, Oppert JM, Bourdeaudhuij, ID, et al. Successful behavior change in obesity interventions in adults: a systematic review of self-regulation mediators. BMC Med 2015;16:1–16.

สุภาพร ทิพย์กระโทก, ธนิดา ผาติเสนะ. ผลของโปรแกรม การจัดการตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ค่าดัชนี มวลกาย และเส้นรอบเอวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้านที่มีภาวะอ้วนลงพุง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2563; 14(34):210–23.

ปิยพร ศรีพนมเขต. ผลของโปรเเกรมการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ Dietary Approaches to Stop Hypertension (DASH) ร่วมด้วยทฤษฏี การรับรู้ความสามารถเเห่งตนเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสียงโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2565;3(1):121–32.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แบบสอบถาม พฤติกรรมสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [สืบค้นเมื่อ 30 เม.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.hed.go.th/.

ปาลิดา เศวตประสาธน์. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเอง ต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนักและน้ำหนักตัว ของอาสาสมัครสาธารณสุขหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2562; 36(1):47–56.

ญาตา แก่นเผือก, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, วรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม. ผลลัพธ์ของการกำกับตนเองในการรับประทาน อาหารและการเดินเร็วเพื่อควบคุมน้ำหนักของหญิงที่มีน้ำ หนักเกิน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2557; 9(1):106–15.

Joki A, Mäkelä J, Fogelholm M. Permissive flexibility in successful lifelong weight management: a qualitative study among Finnish men and women. Appetite 2017; 1(116):157–63.

Annesi JJ. Change in behavioral exercise program-associated self-regulation enhances self-regulation-induced eating improvements across levels of obesity severity. Eval Program Plann 2019;75(1):31–7.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้