การพัฒนาแนวทางการกำกับติดตามหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • มิ่งขวัญ ภูหงษ์ทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

แนวทาง, การกำกับติดตาม, หน่วยบริการวัคซีน, วัคซีนโควิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการกำกับติดตามหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 จังหวัดขอนแก่น โดยใช้กรอบแนวคิดระบบสุขภาพ (the six building blocks of a health system) แบ่งออก เป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 ปฏิบัติการโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ระยะที่ 3 ประเมินผลแนวทาง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข บุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย จำนวน 436 คน เก็บข้อมูล แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม แบบ สังเกตการณ์ แบบประเมินหน่วยฉีดวัคซีน และแบบรายงานผลการฉีดวัคซีนโควิด 19 ผลการศึกษา พบว่า ผลลัพธ์ ในการพัฒนาแนวทางกำกับติดตามหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 จังหวัดขอนแก่น มีทีมกำกับติดตามระดับจังหวัด การเยี่ยมเสริมพลังหน่วยฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล มีแบบประเมินหน่วย ฉีดวัคซีนระดับจังหวัด มีการวางแผนร่วมกันเพื่อกำหนดประเด็นติดตาม ได้แก่ ระบบการบริหารจัดการ แผนการฉีดวัคซีน ระบบนัดหมาย การจัดการวัคซีน การบันทึกผลการฉีดวัคซีน การมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และจัดทำ Line group การนำเสนอผลการกำกับติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานอำเภอที่มีนวัตกรรม ผลการบริการฉีดวัคซีนดีเด่น ในการประชุมระบบปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและคืนข้อมูลในการ ประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อระดับจังหวัด สนับสนุนข้อมูลด้านวิชาการ วัสดุอุปกรณ์ เชิดชูเกียรติ สร้าง ขวัญกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน ผลการประเมิน พบว่า การเข้าถึงวัคซีนประชาชนจังหวัดขอนแก่นได้ครอบคลุม กลุ่ม เป้ าหมายจำนวน 1,688,242 คน ฉีดเข็มที่ 1 จำนวน 1,264,973 คน คิดเป็นร้อยละ 74.93 และมีหน่วยบริการ ฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ มีระบบบริการที่มีคุณภาพ และความปลอดภัย ทุกอำเภอ และตำบล

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Viswanath K, Bekalu M, Dhawan D, Pinnamaneni R, Lang J, McLoud R. Individual and social determinants of COVID-19 vaccine uptake. BMC Public Health. 2021;21(1):818.

Enticott J, Gill JS, Bacon SL, Lavoie KL, Epstein DS, Dawadi S, et al. Attitudes towards vaccines and intention to vaccinate against COVID-19: a cross-sectional analysis-implications for public health communications in Australia. BMJ Open. 2022;12(1):e057127.

Henry DA, Jones MA, Stehlik P, Glasziou PP. Effectiveness of COVID-19 vaccines: findings from real world studies. Medical Journal of Australia. 2021;215(4):149- 51.e1.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีน โควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ: ทีเอสอินเตอร์พริ้นท์; 2564.

Cable News Network. Tracking Covid-19 vaccinations worldwide [Internet]. 2021 [cited 2021 May 24]. Available from: https://edition.cnn.com/interactive/2021/ health/global-covid-vaccinations/

Centers for Disease Control and Prevention. Benefits of Getting A COVID-19 Vaccine [Internet]. 2022 [cited 2022 May 24]. Available from: https://www.cdc.gov/ coronavirus/2019-ncov/vaccines/vaccine-benefits.html

วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย, ยศ ตีระวัฒนานนท์, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, ฉัตรกมล พีรปัญญาวรานันท์, กานต์ชนก ศิริสอน, นภดล พิมสาร, และคณะ. โครงการศึกษาประเด็น ท้าทายเพื่อพัฒนากรอบการติดตามและการประเมินผลของ นโยบายวัคซีนโควิด 19 ในประเทศไทย. โครงการประเมิน เทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; 2565.

Kemmis. S, McTaggart R. The Action Research Reader. 3rd ed. Victoria: Deakin University Press1988.

World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: a handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: World Health Organization; 2010.

Mathieu E, Ritchie H, Ortiz-Ospina E, Roser M, HasellJ, Appel C, et al. A global database of COVID-19 vaccinations. Nature Human Behaviour 2021;5(7):947-53.

McIntyre PB, Aggarwal R, Jani I, Jawad J, Kochhar S, MacDonald N, et al. COVID-19 vaccine strategies must focus on severe disease and global equity. Lancet 2022;399(10322):406-10.

Leo CG, Sabina S, Tumolo MR, et al. Burnout Among Healthcare Workers in the COVID 19 Era: A Review of the Existing Literature. Front Public Health 2021;9:750529.

Whig P, Velu A, Nadikattu RR, Sharma P. Impact of COVID vaccination on the globe using data analytics. In: Agarwal S, Gupta M, Agrawal J, Le DN, editors. Swarm intelligence and machine learning: applications in healthcare. Boca Raton, FL: CRC Press; 2022. p. 21- 33.

แสงทอง จันทร์เฉิด. จะไม่รอให้เกิดพายุ: กรมควบคุมโรค และภาคี ท่ามกลางวิกฤติโควิด 19 พ.ศ. 2562 – 2563. พิมพ์ครั้งที่ 1: นนทบุรี: กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุม โรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Centers for Disease Control and Prevention. CDC Emergency Operations Center: how an EOC works [Internet]. 2022 [cited 2022 Nov 12]. Available from: https:// www.cdc.gov/orr/eoc/how-eoc-works.htm

Centers for Disease Control and Prevention. Public health emergency operations center 2017 [Internet]. 2017 [cited 2022 Nov 21]. Available from: https://www.cdc. gov/globalhealth/infographics/pdf/public-health-emergency-operations-center_ERRB_Prepardness.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้