การรับบริการดูแลระยะยาวและการสนับสนุนทางสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ ช่วยเต็ม หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุคนธา คงศีล ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุขุม เจียมตน ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การรับบริการดูแลระยะยาว, การสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ แบบภาพตัดขวาง (analytical cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทีมีภาวะพึ่งพิง และเพื่อหาความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคลและสภาวะสุขภาพ การรับบริการดูแล ่ ระยะยาว และการสนับสนุนทางสังคม ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และเพื่อหาตัวแบบของการทำนาย คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 182 คน ในอำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี โดยใช้แบบสอบถามที่ประยุกต์จากนักวิจัยท่านอื่น ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป การรับบริการดูแลระยะ ยาว การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง วิเคราะห์ผลโดยสถิติ ไค-สแควร์ และการ วิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอยู่ ในระดับปานกลาง (M=2.05, SD=0.31) พบ 4 ปัจจัยมีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ของการได้รับการดูแลจากผู้ดูแลจากภาครัฐ (p<0.05) ความสามารถในการ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (p<0.01) จำนวนพลัดตกหกล้มในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา (p<0.05) และการสนับสนุนทาง สังคม (p<0.05) และพบว่า ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมี 2 ปัจจัย ได้แก่ จำนวนที่พลัดตก หกล้มในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา และการสนับสนุนทางสังคม โดยสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิงได้ร้อยละ 31.1 (R2=0.311) ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาระบบบริการดูแลระยะยาว ทำให้ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ควรมีการวางแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการป้ องกันการพลัดตกหกล้มและการลดลงของความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันผ่านการดูแลที่ครอบคลุมการสนับสนุนทาง สังคมในทุกด้านบูรณาการร่วมกันกับทุกภาคส่วน

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมการปกครอง. ระบบสถิติทางการทะเบียน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 22 เม.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: https:// stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/ home.php

สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 - 2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2562.

สำนักวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ. Long-term care การดูแลระยะยาวเพื่อภาวะพึ่งพิงอย่างมีคุณภาพในสังคม ไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์; 2563.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการ ตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิ คแอนด์ดีไซน์; 2564.

เกศกนก จงรัตน์, ศรีธยา ฤทธิ์ ช่วยรอด, นันทวุฒิ วงศ์เมฆ, นิพนธ์ รัตนคช. ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(6):1013-20.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้- สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: พริ้นเทอรี่; 2563.

Ghenta M, Matei A, Mladen-Macovei L, Vasilescu D, Bobarnat ES. Sustainable care and factors associated with quality of life among older beneficiaries of social services. Sustainability 2021;13(3):1572.

กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. ทิศทางของการ พัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36(4):15-24.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการ บริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559.

อัญชิษฐฐา ศิริคำเพ็ง, ภักดี โกแสง. การดูแลผู้สูงอายุระยะ ยาวที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ 2558;17(3):235-43.

World Health Organization. The World Health Organization quality of life assessment (WHOQOL): position paper from the World Health Organization. Social Science & Medicine 1995;41(10):1403-9.

Fayers P, Machin D. Quality of life the assessment, analysis and interpretation of patient-reported outcomes 2000 [Internet]. 2007 [cited 2021 Jul 17]. Available from: https://books.google.co.th/books?hl=th&lr=&id=pqX6WKgHKJsC&oi=fnd&pg=PA1&dq=advant age+of+quality+of+life+assessment&ots=z68OHgf6eW&sig=Z-2vLlVYmASMtzbrQOY6fIkmfU&redir_ esc=y#v=onepage&q&f=false

Strandberg E. Chapter 2 - quality of life in older people. In: Martin CR, Preedy VR, Rajendram R, editors. Assessments, treatments and modeling in aging and neurological disease. Cambridge, MA: Academic Press; 2021. p. 13-9.

นริสา วงศ์พนารักษ์, สายสมร เฉลยกิตติ. คุณภาพชีวิต: การ ศึกษาในผู้สูงอายุไทย. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(3):64-70.

Yang W, Wu B, Tan SY, Li B, Lou VWQ, Chen Z, et al. Understanding health and social challenges for aging and long-term care in China. Research on Aging 2021;43(3- 4):127-35.

Aday L, Andersen R. Equity of access to medical care: a conceptual and empirical overview. Medical Care 1981; 19(12):4-27.

Madeehah T, Nordin A, Yuen C, Hairi N, Hairi F. Social support and quality of life among older adults inMalaysia: a scoping review. ASM Science Journal 2018; 13(5):60-5.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม CP แยกตามอายุ/สิทธิ/กลุ่ม [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 31 ส.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://ltc.nhso.go.th/ltc/#/public

สาธารณสุขอำเภอไชยา. แผนปฏิบัติราชการเครือข่ายบริการ สุขภาพอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2565 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 31 ส.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.chaiyapho.go.th/product_images

สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สรุประบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงใน ระบบหลักประกันสุขภาพแหงชาติและการสนับสนุนงบ ประมาณปี 2559 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.nhso.go.th/storage/ files/shares/PDF/fund_ltc03.pdf

Weiers M. Statistics. Barron’s EZ 101 study keys. New York: Harper Collins Colledge Publishers;1996.

ศิริพร งามขำ. การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุเขตทวี- วัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์ 2561;25(2): 91-104.

อาริษา เสาร์แก้ว. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เทศบาลตาบลป่ าตันนาครัว. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2565;9:105-23.

กู้เกียรติ ก้อนแก้ว, ภาณุมาศ ทองเหลี่ยม, ศิริยากร ทรัพย์- ประเสิรฐ. ปัจจัยพยากรณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2561;28(3):394-401.

Talarska D, Tobis S, Kotkowiak M, Strugata M, Stanistawska J, Wieczorowska-Tobis K. Determinants of quality of life and the need for support for the elderly with good physical and mental functioning. Med Sci Monit 2018;24:1604-13.

Polat U, Bayrak Kahraman B, Kaynak I, Gorgulu U. Relationship among health-related quality of life, depression and awareness of home care services in elderly patients. Geriatrics & Gerontology International 2016;16(11):1211-9.

Wang Q, Liu X, Zhu M, Pang H, Kang L, Zeng P, et al. Factors associated with health-related quality of life in community-dwelling elderly people in china. Geriatrics & Gerontology International 2020;20(5):422-9.

จุไรวรรณ ศรีศักดิ์ นอก, นิกร ระวิวรรณ. การพัฒนารูปแบบ การดูแลต่อเนื่องทีบ้านที่เน้นการดูแลแบบองค์รวมในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2020;40(1): 44-55.

Suriyanrattakorn S, Chang CL. Long-term care (LTC) policy in thailand on the homebound and bedridden elderly happiness. Health Policy OPEN 2021;2:1-7.

Zhang M, Zhu W, He X, Liu Y, Sun Q, Ding H. Correlation between functional disability and quality of life among rural elderly in Anhui province, China: a crosssectional study. BMC Public Health 2022;22:397.

Trukeschitz B, Hajji A, Kieninger J, Malley J, Linnosmaa I, Forder J. Investigating factors influencing quality-of-life effects of home care services in Austria, England and Finland: a comparative analysis. Journal of European Social Policy 2021;31(2):192-208.

สุนิสา วิลาศรี, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พัชราพร เกิดมงคล, เพลินพิศ บุณยมาลิก. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบบริการระยะยาวกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข 2563;30(2):164- 76.

Pérez P, Martínez FM, Tarazona-Santabalbina FJ. Risk factors and number of falls as determinants of quality of life of community-dwelling older adults. Journal of Geriatric Physical Therapy 2019;42(2):63-72.

Ngamsangiam P, Suttanon P. Risk factors for falls among community-dwelling elderly people in Asia: a systematic review. Science & Technology Asia 2020;25(3):105- 26.

Bjerk M, Brovold T, Skelton DA, Bergland A. Associations between health-related quality of life, physical function and fear of falling in older fallers receiving home care. BMC Geriatrics 2018;18(1):253.

Kantow S, Seangpraw K, Ong-Artborirak P, Tonchoy P, Auttama N, Bootsikeaw S, et al. Risk factors associated with fall awareness, falls, and quality of life among ethnicminority older adults in upper northern Thailand. Clin Interv Aging 2021;16:1777-88.

House JS. Social support and social structure. Sociological Forum 1987;2(1):135-46.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้