การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดเชิงรุกในชาวเขาเผ่าม้ง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ปี 2551

ผู้แต่ง

  • พงษ์พจน์ เปี้ยน้ำล้อม โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก
  • วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์ โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, ชาวเขาเผ่ามัง, การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้นำเสนอผลการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดในประชากรชาวเขาเผ่ามังที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ใน 3หมู่บ้าน ของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยการออกหน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ในปี 2551 ดำเนินการศึกษาโดย การให้สุขศึกษา การสัมภาษณ์ การถ่ายภาพรังสีทรวงอกโดยรถเอ็กซเรย์เคลื่อนที่ การเก็บเสมหะส่งตรวจในรายที่พบมีภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปรกติ การรักษาในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอด และการคัดกรองผู้สัมผัสในครัวเรือนของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ค้นพบทุกราย วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเป็นค่าความถี่ค่าร้อยละ และใช้ chi-square test ในการเปรียบเทียบสัดส่วนของข้อมูลแต่ละชุด จากการศึกษาพบว่า มีชาวเขาเผ่ามังมารับการตรวจรวม 1,336 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 37.0 และเพศหญิงร้อยละ 63.0 โดยร้อยละ 44.5 มีอายุ 15-34 ปี พบมีภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปรกติ 80 ราย (6.0% ของผู้มารับการตรวจ) โดยร้อยละที่ผิดปรกติพบในเพศชายสูงกว่าเพศหญิงเล็กน้อย และมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อจำแนกตามอาการและอาการแสดง พบว่าร้อยละของผู้ที่มีภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปรกติจะสูงในกลุ่มที่มีอาการเหนื่อยหอบ ไข้และไอมีเสมหะปนเลือด และไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งทั้งหมดเป็นอาการหรืออาการแสดงทางระบบทางเดินหายใจ จากการตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ในผู้ที่มีภาพถ่ายรังสีทรวงอก ผิดปรกติ พบผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ 3 ราย และจากการเพาะเชื้อพบผู้ป่วยเพิ่มอีก 2 ราย รวมตรวจพบเชื้อวัณโรคทั้งสองวิธี 5 ราย โดยทั้งหมดไม่พบเป็นเชื้อวัณโรคที่ดื้อยาหลายขนาน ผู้ป่วยอีก 1 ราย เป็น ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะไม่พบเชื้อ โดยการวินิจฉัยของแพทย์ผู้รักษารวมผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและรักษาทั้งสิ้น 6 ราย (7.5% ของผู้ที่มีภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปรกติ) และเมื่อคำนวณจากผู้มารับการตรวจคัดกรองทั้งหมด 1,336 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 0.4 ผู้ป่วย 5 ใน 6 รายมีอาการไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์ และ 4 ราย มีอาการเหนื่อยหอบ ผู้ป่วยทั้ง 6 รายมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยา ได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างใกล้ชิด และมีผลการ รักษาหายหรือครบทุกราย ไม่พบผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสในครัวเรือนของผู้ป่วย การเสริมสร้างความรู้เรื่องวัณโรค การค้นหาผู้ป่วย และการจัดบริการตรวจรักษาที่ดี น่าจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการแพร่กระจาย วัณโรคในชุมชนชาวเขาลงได้มาก

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-01-08

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

1 2 > >>