แนวโน้มการคลังด้านสุขภาพเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย พ.ศ. 2545-2555

ผู้แต่ง

  • วีรนุช ว่องวรรธนะกุล สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ชาฮีดา วิริยาทร สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ภูษิต ประคองสาย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; สำนักการสาธารณสุขระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรค NCDs, การป้องกันโรค, การส่งเสริมสุขภาพ, การคลังด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

ภาระโรคจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases: NCDs) มีขนาดของปัญหาที่ใหญ่มากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมการป้องกันโรค NCDs ของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2555 และตอบคำถามว่างบประมาณเพื่อการป้องกันโรค NCDs สัมพันธ์กับขนาดของปัญหาของประเทศหรือไม่ โดยมีแหล่งข้อมูลหลักมาจากบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทยและบัญชีรายจ่ายการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค พ.ศ. 2555 รวมถึงรายงานสำคัญอื่นๆ สำหรับการป้องกันโรค NCDs ของประเทศไทยมีการดำเนินการทั้งตามแนวทางการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545เป็นต้นมา พบว่า รายจ่ายรวมด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (total expenditure on prevention and pro-motion: TEPP) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่ารายจ่ายสุขภาพรวม (Lotal health expenditure: THE)และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในช่วงปี พ.ศ. 2549-2555 รายจ่าย TEPP มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (เพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 12.3 ต่อปี) แต่เป็นไปในลักษณะที่ผันผวน มีข้อสังเกตว่า TEPP ที่เป็นรายจ่ายรวมและ TEPP สำหรับภาระโรค NCDs โดยส่วนใหญ่เป็นงบสำหรับการรักษาและป้องกันภาวะแทรกช้อน (การป้องกันระดับทุติยภูมิ) และการจัดการภาวะแทรกซ้อน (การป้องกันระดับตติยภูมิ) ส่วนงบสำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดโรค (การป้องกันระดับปฐมภูมิ) กลับมีสัดส่วนที่ไม่สูงนัก ทั้งนี้ ต้นทุนผลกระทบทั้งจากภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงของโรค NCDs เท่าที่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้นั้นมีมูลค่ามากกว่างบประมาณในการป้องกัน กล่าวได้ว่าต้นทุนผลกระทบจากโรค NCDs นั้นมากกว่า TEPP สำหรับภาระโรค NCDs ถึง 11 เท่า ดังนั้น ภาครัฐจึงควรยกระดับความสำคัญในการจัดการและการป้องกันโรค NCDs โดยภาครัฐควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งอย่างน้อยควรเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับ THE โดยควรเป็นงบประมาณเพิ่มขึ้นเพื่อการป้องกันระดับปฐมภูมิ นอกจากนี้ ควรส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรบุคคล เพิ่มศักยภาพรวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแนวทางการดำเนินการป้องกันโรค NCDs ที่เป็นไปในลักษณะของการบูรณาการร่วมกับมาตรการทางสาธารณสุขอื่น ๆ รวมถึงการป้องกันปัญหาจากปัจจัยเสี่ยง NCDs

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-08

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

1 2 > >>