การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ด้วยวิธีวิเคราะห์ต้นทุน–ประสิทธิผล โครงการในกลุ่มเยาวชนภายใต้โครงการวิจัย การควบคุม กํากับ และประเมินผลโครงการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชน และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
คำสำคัญ:
ต้นทุน–ประสิทธิผล, เอดส์, เยาวชนบทคัดย่อ
วิกฤตทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อนโยบายในการยุติปัญหาเอดส์และพฤติกรรมเสี่ยงของการติดเชื้อเอดส์การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล โครงการป้องกันปัญหาเอดส์ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน เป็นสิ่งสําคัญที่จะให้ข้อมูลสําหรับผู้กําหนดนโยบาย ในการตัดสินใจว่าควรใช้กลวิธีใดที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเพื่อให้ได้ข้อบ่งชี้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติหรือกลวิธี ในการป้องกันโรคเอดส์อย่างมีประสิทธิผล คุ้มทุน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ ด้วยวิธีวิเคราะห์ ต้นทุน–ประสิทธิผล โครงการในกลุ่มเยาวชน ภายใต้โครงการวิจัยการควบคุม กํากับ และประเมินผล โครงการพัฒนารูปแบบและกลไกรณรงค์เพื่อป้องกันปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ การวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลได้ดําเนินการในเยาวชนจํานวน 567 คน ใน 3 จังหวัดจํานวน 4 โครงการ ประกอบ ด้วย 4 ขั้นตอนคือ (1) ระบุ 4 กลวิธีการดําเนินงานหลัก (2) วิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิในค่าใช้จ่าย (3) วิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับประสิทธิผล และ (4) วิเคราะห์ข้อมูลต้นทุน-ประสิทธิผล ซึ่งมีตัวชี้วัดของโครงการคือ (1) ความรู้ถูกต้องเกี่ยวกับ โรคเอดส์ (2) ความตระหนักเกี่ยวกับโรคเอดส์ และ (3) ความสามารถในการประเมินความเสี่ยงของตนเองเกี่ยวกับ โรคเอดส์ พบว่าต้นทุนของวิธีการดําเนินงานในกลุ่มเยาวชน คือ (1) การเสริมสร้างทักษะชีวิตหลักสูตรอาสาสมัครเครือข่ายและความเป็นผู้นําเท่ากับ 11,468,326 บาท (2) การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือผ่านความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ เท่ากับ 45,249,987 บาท (3) การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างพันธมิตรและองค์กรที่ทํางาน กับเยาวชน เท่ากับ 17,472,000 บาท และ (4) การสร้างขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการรับรู้เรื่องโรคเอดส์ในกลุ่มเยาวชนผ่านสื่อ เท่ากับ 47,007,997 บาท ประสิทธิผลของแต่ละวิธีการดําเนินงาน (จํานวนผู้ที่ได้รับการป้องกันจากการติดเชื้อเอชไอวี หรือ HIV cases prevented) เป็น 2,995 12,562 1,641 และ 20,930 ตามลําดับ และต้นทุน-ประสิทธิผลของแต่ละวิธีการดําเนินงานคือ 4,551 บาท 3,596 บาท 10,633 บาท และ 2,232 บาท ต่อการป้องกันเยาวชน 1 คนจากการติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้น การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากลวิธีการดําเนินงานที่มีต้นทุน-ประสิทธิผลสูงสุดในกลุ่มเยาวชน คือการสร้างขีดความสามารถและประสิทธิผลในการรับรู้เรื่องโรคเอดส์ในกลุ่มเยาวชนผ่านสื่อ แม้ค่าใช้จ่ายในกลวิธีนี้จะสูงที่สุด แต่มีผลที่จะทําให้เยาวชน 1 คนได้รับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ากลวิธีอื่นๆ ดังนั้นควรได้รับการส่งเสริมและการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง นํากลวิธีนี้ไปบริหารจัดการที่ดีขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือกลวิธีในการป้องกัน โรคเอดส์ต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.