การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, ความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ, เหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์, ความท้าทาย, ประเทศไทยบทคัดย่อ
การเฝ้าระวังเพื่อค้นหาสัญญาณของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นหน้าที่สำคัญของระบบสาธารณสุข การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศไทย และเพื่อบ่งชีสิ่งท้าทายต่อระบบ เพื่อนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบในอนาคตได้อย่างเหมาะสม การศึกษานี้ใช้การทบทวนเอกสารและการรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้sส่วนเสียผ่านวิธีการที่หลากหลาย แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลที่เก็บมาได้เพื่อหาแนวคิดร่วม ผลการศึกษาพบว่า ระบบเฝ้าระวังเพื่อค้นหาเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เริ่มพัฒนาขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2526โดยเริ่มจากยา หรือที่เรียกว่า pharmacovigilance system ก่อนจะขยายไปครอบคลุมผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น เช่นยาสมุนไพร วัคซีน และเครื่องมือแพทย์ ซึ่งต่อมาได้ปรับเป็น health product vigilance system ในปี พ.ศ. 2551 จำนวนรายงานที่ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศูนย์ HPVC) ได้รับในแต่ละปีเพิ่มจากไม่กี่ร้อยในระยะ เริ่มแรก เป็นประมาณ 50,000 ฉบับในปัจจุบัน โดยโรงพยาบาลของรัฐเป็นผู้รายงานเป็นส่วนใหญ่ศูนย์ HPVC ได้มีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นเองเพื่อใช้ในการตรวจหาสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์นั้นสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับผลิตภัณฑ์ใด เมื่อพบสัญญาณที่แท้จริง จะนำไปสู่การจัดการและการสื่อสารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม สัญญาณที่ตรวจจับได้ที่ศูนย์ HPVC ได้นำไปสู่การจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศไทย และยังรายงานไปยังองค์การอนามัยโลก ถึงแม้ว่าศูนย์ HPVC จะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแต่ก็ยังมีสิ่งท้าทายหลายอย่างรออยู่ หากจะให้อัตราการรายงานสูงขึ้น อาจต้องมีกฎหมายบังคับให้ต้องรายงานระบบปัจจุบันอาจจะต้องให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์อื่นนอกจากยามากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของยาที่ทราบ ตั้งแต่ตอนขึ้นทะเบียนยา ควรนำมาใช้ประกอบการเฝ้าระวังเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ภายหลังยานั้นออกสู่ท้องตลาดด้วย การเฝ้าระวังในบางกลุ่มที่เปราะบาง เช่น สตรีมีครรภ์ เด็ก คนชรา ควรมีการดำเนินมาตรการที่รวดเร็วกว่ากลุ่มอื่น มีความจำเป็นต้องขยายและสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายการรายงานและเพิ่มจำนวน บุคลากรที่ใช้ในเครือข่ายระบบรายงาน และการพัฒนาหรือปรับปรุงระบบรายงานให้สามารถเชื่อมต่อทางอิเล็กทรอนิกส์ กับระบบระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลอย่างอัตโนมัติ จะช่วยให้การรายงานเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพดีขึ้นอย่างมาก
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.