สมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, การบริหารจัดการ, องค์กรสร้างเสริมสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 64 คน และ อสม. จำนวน 64 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample’s t-test และ Independent sample’s t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพที่คาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุดและมีสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพที่มีอยู่จริงอยู่ในระดับปานกลาง อสม. มีสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพที่คาดหวัง สูงกว่าสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพที่มีอยู่จริง และกลุ่ม อสม. ประเมินสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพที่คาดหวังและสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพที่มีอยู่จริงสูงกว่าบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพของ อสม. เพื่อให้ อสม.สามารถบริหารจัดการองค์กรสร้างเสริมสุขภาพของ อสม. ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลาง. (2562). ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลาง เรื่อง แนวทางการจัดทำระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2562. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
ณัฐธิกา พฤกษิกานนท์. (2567). สมรรถนะวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.
นิสิต ยิ้มนรินทร์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคเหนือ, 32(3), 9-23.
นูไรฮัน ฮะ. (2562). ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลาง เรื่อง การรวมกลุ่มของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2561. (20 มิถุนายน 2561). ราชกิจจานุเบกษา ตอนพิเศษ, 135(142 ง), หน้า 23-25.
ยุทธนา แยบคาย, และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2563). การปฏิบัติงานตามบทบาทที่สำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 31(2), 269-279.
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2565. (29 มิถุนายน 2565). ราชกิจจานุเบกษา ตอนพิเศษ, 139(152 ง), หน้า 1.
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พ.ศ. 2554. (20 มีนาคม 2554). ราชกิจจานุเบกษา ตอนพิเศษ, 128(33 ง), หน้า 1-10.
วีณาพร สำอางศรี,ปรีชา สามัคคี และไกรเดช ไกรสกุล. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนเชิงรุกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 15(3), 187-198.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. (2558). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.(2564). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. (2565). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย.กรุงเทพมหานคร: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.
อรธิรา พลจร. (2563). สมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อลงกรณ์ มีสุทธา, และสมิต สัชณุกร. (2551). การประเมินผลการปฏิบัติงาน: แนวความคิด หลักการ วิธีการ และกระบวนการ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychology and education. New York, NY: McGraw-Hill.
Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160. doi:10.3758/BRM.41.4.1149.
Hennessy, S., Bilker, W. B., Berlin, J. A., & Stromu, B. L. (1999). Factors influencing the optimal control-to-case ratio in matched case-control studies. American Journal of Epidemiology, 149(2), 195-197. doi.org/10.1093/oxfordjournals.aje.a009786.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49-60.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.