การพัฒนารูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต จาก tenofovir disoproxil fumarate (TDF) ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลอุทัยธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วย, tenofovir disoproxil fumarate, ภาวะแทรกซ้อนทางไต, เอชไอวี/เอดส์บทคัดย่อ
ความเป็นมา: ยาต้านไวรัสเอชไอวี tenofovir disoproxil fumarate (TDF) เป็นยาหลักที่อยู่ในสูตรสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวี/เอดส์แต่ TDF มีผลข้างเคียงต่อการทำงานของไตของผู้ป่วยหากได้รับยาเป็นเวลานานโดยไม่ได้ตรวจติดตามและแก้ไข
วัตถุประสงค์: เพื่อ 1) ศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดความผิดปกติของไตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วย TDF 2) พัฒนาและศึกษาผลของการนำรูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากการได้รับ TDF
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดความผิดปกติของไตในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่ได้รับ TDF จากฐานข้อมูลเวชระเบียน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมฯ ระยะที่ 3 ทดลองรูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมฯ ที่พัฒนาขึ้น ระยะที่ 4 ศึกษาผลของการนำรูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมฯที่พัฒนาขึ้นไปใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน แบบบันทึกการติดตามผู้ป่วย และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ
ผลการศึกษา: พบว่า ก่อนการพัฒนาผู้ป่วยที่ได้รับ TDF มีภาวะการทำงานของไตบกพร่อง ร้อยละ 10.26 และมีภาวะแทรกซ้อนทางไตที่รุนแรง ร้อยละ 1.70 รูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมฯ ประกอบด้วย การกำหนดการติดตามค่าการทำงานของไต การให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยการให้คำปรึกษาการรับประทานยา การปรับขนาดยาให้เหมาะสม การหยุดยา การพัฒนาสื่อให้ความรู้ คู่มือการทำงานให้เป็นแนวทางเดียวกันและการส่งต่อข้อมูลและใช้ข้อมูลร่วมกับทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย ผลการใช้รูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมฯพบว่า ภายหลังการปรึกษาแพทย์โดยเภสัชกร แพทย์มีการหยุดยาและปรับขนาดยาตามการทำงานของไต และไม่พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตที่รุนแรงจาก TDF ทีมสหสาขาวิชาชีพมีความพึงพอใจในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในระดับสูง
สรุปผลการศึกษา : รูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมฯ ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตที่รุนแรงจาก TDF ได้
เอกสารอ้างอิง
UNAIDS. Global HIV & AIDS statistics - fact sheet 2020. [Internet]. Geneva: The joint United Nation Programme on HIV/AIDS (UNAIDS); 2020 [cited 2023 Jun 30]. Available from: https://unaids.org/en/resources/fact-sheet
Selik RM, Byers RH Jr, Dworkin MS. Trends in diseases reported on U.S. death certificates that mentioned HIV infection, 1987-1999. J Acquir Immune Defic Syndr. 2002;29(4):378-87. doi: 10.1097/00126334-200204010-00009.
Nishijima T, Komatsu H, Gatanaga H, Aoki T, Watanabe K, Kinai E, et al. Impact of small body weight on tenofovir-associated renal dysfunction in HIV-infected patients: a retrospective cohort study of Japanese patients. PLoS One. 2011;6(7):e22661. doi: 10.1371/journal.pone.0022661.
เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, เพลินจันทร์ เชษฐโชติศักดิ์, สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, วินัย รัตนสุวรรณ, และคณะ. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2564/2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://www.ddc.moph.go.th/das/forecast_detail.php?publish=12810&deptcode=das
Waheed S, Attia D, Estrella MM, Zafar Y, Atta MG, Lucas GM, et al. Proximal tubular dysfunction and kidney injury associated with tenofovir in HIV patients: a case series. Clin Kidney J. 2015;8(4):420-5. doi: 10.1093/ckj/sfv041.
Suzuki S, Nishijima T, Kawasaki Y, Kurosawa T, Mutoh Y, Kikuchi Y, et al. Effect of tenofovir disoproxil fumarate on incidence of chronic kidney disease and rate of estimated glomerular filtration rate decrement in HIV-1-infected treatment-naïve Asian patients: results from 12-year observational cohort. AIDS Patient Care STDS. 2017;31(3):105-12. doi: 10.1089/apc.2016.0286.
Mateo L, Holgado S, Marinoso ML, Perez-Andres R, Bonjoch A, Romeu J, et al. Hypophosphatemic osteomalacia induced by tenofovir in HIV-infected patients. Clin Rheumatol. 2016;35:1271-9. doi: 10.1007/s10067-014-2627-x.
Woodward CL, Hall AM, Williams IG, Madge S, Copas A, Nair D, et al. Tenofovir-associated renal and bone toxicity. HIV Med. 2009;10(8):482-7. doi: 10.1111/j.1468-1293.2009.00716.x.
Casado JL, Del Rey JM, Bañón S, Santiuste C, Rodriguez M, Moreno A, et al. Changes in kidney function and in the rate of tubular dysfunction after tenofovir withdrawal or continuation in HIV-infected patients. J Acquir Immune Defic Syndr. 2016;72(4):416-22. doi: 10.1097/QAI.0000000000000986.
Peyriere H, Cournil A, Casanova ML, Badiou S, Cristol JP, Reynes J. Long-term follow-up of proteinuria and estimated glomerular filtration rate in HIV-infected patients with tubular proteinuria. PLoS One. 2015;10(11):e0142491. doi: 10.1371/journal.pone.0142491.
อิทธิชัย สีดำ. ระเบียบวิจัยทางรัฐประศาสนาศาตร์ 2/2563: การวัดและการสร้างมาตรวัด [อินเทอร์เน็ต]. ยะลา: ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา; 2563 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2567]. สืบค้นจาก: https://old.elearning.yru.ac.th/pluginfile.php/80638/mod_resource/content/1/การสร้างมาตรวัด.pdf
Chaisiri K, Bowonwatanuwong C, Kasettratat N, Kiertiburanakul S. Incidence and risk factors for tenofovir-associated renal function decline among Thai HIV-infected patients with low-body weight. Curr HIV Res. 2010;8(7):504-9. doi: 10.2174/157016210793499259.
Martin M, Vanichseni S, Suntharasamai P, Sangkum U, Mock PA, Gvetadze RJ, et al. Renal function of participants in the Bangkok tenofovir study--Thailand, 2005-2012. Clin Infect Dis. 2014;59(5):716-24. doi: 10.1093/cid/ciu355.
Szczech LA. Renal dysfunction and tenofovir toxicity in HIV-infected patients. Top HIV Med. 2008;16(4):122-6. PMID: 18838746.
Tanuma J, Jiamsakul A, Makane A, Avihingsanon A, Ng OT, Kiertiburanakul S, et al. Renal dysfunction during tenofovir use in a regional cohort of HIV-infected individuals in the Asia-Pacific. PLoS One. 2016;11(8):e0161562. doi: 10.1371/journal.pone.0161562.
Scherzer R, Estrella M, Li Y, Choi AI, Deeks SG, Grunfeld C, et al. Association of tenofovir exposure with kidney disease risk in HIV infection. AIDS. 2012;26(7):867-75. doi: 10.1097/QAD.0b013e328351f68f.
วิบูลย์ อยู่ยงวัฒนา, ศิรานันต์ พลเหี้ยมหาญ, ประภาศรี อารยะพงศ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก tenofovir disoproxil fumarate (TDF) ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลนครพนม. วารสารเภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2566];28(1):1-14. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/12452
กมลรัตน์ ณ หนองคาย. การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย. วารสารเภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 18 ม.ค.2567];29(3):153-64. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/14144
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ