การประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาตำบลจัดการคุณภาพชีวิต จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ถนัด ใบยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
  • ยุพิน แตงอ่อน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตระดับอำเภอ, ตำบลจัดการคุณภาพชีวิต, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาตำบลจัดการคุณภาพชีวิต จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาตำบลจัดการคุณภาพชีวิต และประเมินผลการพัฒนา รวมทั้งปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้มีส่วนร่วมการวิจัย ประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและตำบล เลือกแบบเจาะจงจำนวน 153 คน ดำเนินการระหว่าง เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2564 การดำเนินงานประกอบด้วย 1) ทบทวนข้อมูลสถานการณ์ ถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ และกำหนดรูปแบบ 2) นำรูปแบบไปดำเนินการในพื้นที่ 3) ติดตามและประเมินผล 4) คืนข้อมูลการสะท้อนกลับ วิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้จำนวน และร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอมีคณะกรรมการระดับอำเภอเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนหลัก ในการกำหนดประเด็นการพัฒนา แผนการพัฒนา การบูรณาการทรัพยากร และกำกับติดตามประเมินผล ใช้ข้อมูลเป็นฐาน โดยมีหมู่บ้านและตำบลเป็นพื้นที่ปฏิบัติการตามแผนงาน ประเด็น พชอ. ที่คัดเลือกดำเนินการมากที่สุด คือ การจัดการขยะ (ร้อยละ 60) รองลงมา ได้แก่ การลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูบบุหรี่ (ร้อยละ 46.6) อาหารปลอดภัย (ร้อยละ 46.6) และผู้สูงอายุ (ร้อยละ 40.0) ตามลำดับ และได้เพิ่มประเด็นการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นประเด็นหลักที่ดำเนินการในทุกอำเภอ ด้านผลการประเมินตามองค์ประกอบ UCCARE พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.0-4.0 ในปี 2563 เพิ่มเป็น 3.0-4.8 ในปี 2564 โดยอำเภอที่มีผลการประเมินสูงสุดได้แก่ อำเภอปัว (4.8) อำเภอทุ่งช้าง (4.8) และ อำเภอเมืองน่าน (3.8) ด้านผลการประเมินตำบลจัดการคุณภาพชีวิตพบว่าผ่านเกณฑ์เพิ่มจาก 80 ตำบล (ร้อยละ 80.8) ในปี 2563 เพิ่มเป็น 88 ตำบล (ร้อยละ 88.9) ในปี 2564 สำหรับปัจจัยแห่งความสำเร็จได้แก่ การใช้ข้อมูล มีทีมนำและคนทำงานที่หลากหลาย คณะกรรมการมีสัมพันธภาพและความเข้าใจที่ดี มีการกำหนดประเด็นอย่างมีส่วนร่วม มีการขับเคลื่อนประเด็นของพื้นที่ จนเกิดผลเป็นรูปธรรม เน้นปฏิบัติการระดับตำบลหรือหมู่บ้าน การเสริมพลังการทำงาน และมีการติดตามผลลัพธ์ต่อเนื่อง

ดังนั้นจึงควรมุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมในระดับตำบลหรือหมู่บ้านเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

เอกสารอ้างอิง

Chomprasert, Chinnawat. Chotigaklam. (2019). Transformational Leadership and Teamwork Affecting Effectiveness of the District Health Board in the Health Area 2. Journal of Disease and Health Risk DPC.3. 13(1): 34-47. (in Thai).

David McCoy, Beth Engelbrecht. (2016). A leading resource on health systems and primary health care in South Africa. Retrieved August 15, 2019 from http://www.hst.org.za/publications/establishing-district-healthsystem.

Kanpirom, Kitti. Chuencharoensuk, Kavalin. Pitak, Juthatip. (2017). Primary Care Service in Thailand After 5 Years of Being Driven by the District Health System. Journal of Buddhachinaraj Medical. 34(3): 295-306. (in Thai).

Ngoenrang, Siwaporn. (2019). Model for developing competency of district health board of Trakan Phuetphon District, Ubon Ratchathani Province. Journal of Medicine and Public Health, Ubon Ratchathani University. 2(2): 108-116. (in Thai).

Phetchpichejchien, Wongchan. (2016). Health Promotion : Nurse Role. Bankok: Matakarnpim Company. (in Thai).

Pongsuphap, Yongyuth. (2017). (Draft) Regulations of the Office of the Prime Minister on quality of life at the district level 2017. Nonthaburi: Thailand Healthy Strategic Management Office, Office of Permanent Secretary of MOPH. (in Thai).

Primary Health Care Division, Department of Health Service Support. (2018). Guideline for Sub-district health Integration management. Nonthaburi: Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. (in Thai).

Sawongtui, Kobkul. Duangdeewong, Chumpol. Mangkornkaew, Sornsil. Sangboonruang, Chompoonut. (2019). Mobilization in Districial Health Assembly toward District Health Board (DHB) : Thoen District, Lampang Province. Journal of Health Sciences Scholarship. 6(2): 12-27. (in Thai).

Surapruk, Varawut. (2013). Knowledge Management by Learning Sharing among District Health Network on District Health Service Development and People Participation (Report). Nonthaburi: Primary Health Care Department. (in Thai).

Regulations of the Prime Minister’s Office about District Health Board on quality of life development in 2018. (2018, 9 March). Thai Government Gazette. 135(54): 1-7 . Retrieved August 15, 2019, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/054/1.PDF. (in Thai)

World Health Organization. (2015). WHO global strategy on people-centred and integrated health services. Geneva : World Health Organization.

World Health Organization. (2018). Social determinants of health. Retrieved August 15, 2019, from http:// www.who.int/social_determinants/sdh_definition/en/index.htm

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-05-02

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้