ปัจจัยที่มีผลต่อผลการรักษาจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร สมศรี โรงพยาบาลสกลนคร
  • อนุวัฒน์ สุรินราช โรงพยาบาลสกลนคร
  • ปิยะพงษ์ พาพิทักษ์ โรงพยาบาลสกลนคร
  • ปิยาภิศักดิ์ เจียรสุคนธ สถาบันนวัตกรรมธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยนครพนม

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลการรักษาจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด (recombinant tissue plasminogen activator: rt–PA) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน จำนวน 71 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสกลนคร เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 31 สิงหาคม 2561 ด้วยแบบบันทึกข้อมูลที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.60–1.00วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ

            ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คือ ร้อยละ 63.4 อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี ร้อยละ 70.4 โรคประจำตัวพบมากที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 23.9 รองลงมาคือ ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 19.7 ส่วนใหญ่มีอาการนำก่อนมาโรงพยาบาล แขนขาอ่อน แรงครึ่งซีก ร้อยละ 53.5 รองลงมาคือ อาการปากเบี้ยว ร้อยละ 23.9 ช่วงเวลาที่เกิดอาการมากที่สุด 06.01–12.00 น. ร้อยละ 52.1 ปัจจัยด้าน เพศ อายุ โรคประจำตัว ช่วงเวลาที่เกิดอาการ และระยะเวลานอนโรงพยาบาล มีความ สัมพันธ์กับผลการรักษาจากการให้ยาละลายลิ่มเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.024, 0.001, 0.000, 0.000 และ 0.006 ตามลำดับ) นอกจากนี้ ปัจจัยคุณลักษณะของผู้ป่วยด้านอายุมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการรักษาจาก การให้ยาละลายลิ่มเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.005)

            คำสำคัญ: ยาละลายลิ่มเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หลักฐานเชิงประจักษ์

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-15