ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุในโรคความดันโลหิตสูง ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูม

ผู้แต่ง

  • พรภัทรา แสนเหลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูม
  • เพ็ญผกา กาญจโนภาส มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ
  • ทรัพย์ทวี หิรัญเกิด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในโรคความดันโลหิตสูง ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองสองกลุ่ม (Quasi Experimental Research) ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ อายุ 60 ปี ขึ้นไป สุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จาก 2 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสอนสุขศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของ ผู้สูงอายุในโรคความดันโลหิตสูงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มควบคุมได้รับการสอนสุขศึกษาตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าความตรงเชิง เนื้อหาเท่ากับ 0.66–1.00 และมีความค่าความเชื่อมั่นด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ เท่ากับ 0.82 0.62 และ 0.66 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ Independent t–test

          ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสุขศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีคะแนนเฉลี่ย ด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในโรคความดันโลหิตสูง สูงกว่าผู้สูงอายุในกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนสุขศึกษาตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.000, p = 0.002, p = 0.000 ตามลำดับ)

          คำสำคัญ : ประสิทธิผล โปรแกรมสุขศึกษา พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-15