ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยติดเชื้อเมลิออยโดสิส ในโรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ขวัญเนตร อินทรวงษ์โชติ โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย

บทคัดย่อ

       โรงพยาบาลหนองคายพบผู้ติดเชื้อเมลิออยโดสิสปีละประมาณร้อยละ 20 จากจำนวนผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดทั้งหมด (sepsis) และมีอุบัติการณ์การเสียชีวิตสูงมากขึ้นทุกๆ ปี โดยพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันร่วมด้วยมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน และการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับภาวะไตวายเฉียบพลันยังมีจำกัดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยติดเชื้อเมลิออยโดสิสในโรงพยาบาลหนองคาย เป็นการศึกษาย้อนหลังโดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยโรคติดเชื้อเมลิออยโดสิสจากผลการเพาะเชื้อในเลือดหรือตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันโดยใช้สถิติ chi–square test และ multiple logistic regression              ผลการศึกษาพบว่าจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเมลิออยโดสิสทั้งหมด 155รายมีภาวะแทรกซ้อนจากไตวายเฉียบพลันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการรักษา 52รายและเกิดไตวายเฉียบพลันหลังจากให้การรักษาในโรงพยาบาล 21 ราย รวมเป็น 73 ราย (ร้อยละ 47.1) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้แก่ โรคไตวายเรื้อรัง [p = 0.020, odd ratio 4.303 (95%CI, 1.255–14.750)] และภาวะช็อกจากการติดเชื้อ [p < 0.001, odd ratio 7.841 (95%CI, 2.433–25.269)] ดังนั้น หากผู้ป่วยมีปัจจัยดังกล่าวควรให้การดูแลรักษาอย่างระมัดระวังเพื่อลดอัตราการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน

          คำสำคัญ: เมลิออยโดสิส ไตวายเฉียบพลัน ไตวายเรื้อรัง ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ

ประวัติผู้แต่ง

ขวัญเนตร อินทรวงษ์โชติ , โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย

นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-02-17