กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้ในการพยาบาลผู้ป่วย ที่มีภาวะเลือดออกในโพรงสมองร่วมกับมีภาวะน้ำคั่งในสมอง

ผู้แต่ง

  • จินตนา กิ่งแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
  • ปวีณา จรัสเฉลิมพงศ์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

             การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความรู้ทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในโพรงสมอง (intraventricular hemorrhage) ร่วมกับมีภาวะน้ำคั่งในสมอง (hydrocephalus) ที่ได้รับการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำไขสันหลังออก โดยประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลอย่างถูกต้อง ภาวะเลือดออกในโพรงสมอง หมายถึง การมีเลือดออกในโพรงสมองซึ่งเป็นที่สร้างน้ำไขสันหลัง มักพบในรายที่ได้รับบาดเจ็บสมองรุนแรงหรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง ก่อให้เกิดภาวะน้ำคั่งในสมอง และภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและพบบ่อยในผู้ป่วยเหล่านี้ ปัจจุบันรักษาโดยการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำไขสันหลังที่อยู่ในโพรงสมองออก (ventriculostomy) เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะความดันในกะโหลกศรีษะสูงและสมองเคลื่อน การให้การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่สายระบายน้ำไขสันหลังนี้มีความซับซ้อนหลายประการ ดังนั้น พยาบาลจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความมั่นใจและปฏิบัติการพยาบาลได้ถูกต้อง ซึ่งการพยาบาลที่สำคัญ คือ การตั้งระดับจุดหยดของน้ำไขสันหลังให้ถูกต้อง เพื่อให้ความดันในกะโหลกศีรษะอยู่ในเกณฑ์ปกติเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศรีษะสูง เนื่องจากภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงเป็นภาวะแทรกซ้อนสำคัญและพบบ่อยในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ การใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวทางการพยาบาลที่ถูกต้องในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในโพรงสมองร่วมกับมีภาวะน้ำคั่งในสมอง ให้ครอบคลุมปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านพยาบาล และผู้รับบริการ สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยและช่วยลดความพิการที่อาจเกิดขึ้นได้

          คำสำคัญ: กระบวนการพยาบาล เลือดออกในโพรงสมอง ภาวะน้ำคั่งในสมอง

ประวัติผู้แต่ง

จินตนา กิ่งแก้ว, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา

อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา

ปวีณา จรัสเฉลิมพงศ์, โรงพยาบาลศรีสะเกษ

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลศรีสะเกษ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-02-17