ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับปัญหาอาการไอในผู้ป่วยโรคไข้หวัดกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • กมลทิพย์ ทัพเจริญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • วุธิพงศ์ ภักดีกุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • วรินท์มาศ เกษทองมา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ

        อาการไอส่วนมากเกิดจากโรคระบบทางเดินหายใจ การใช้ยาแก้ไอจากสมุนไพรช่วยลดอาการไอได้ อย่างปลอดภัย งานวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะอาการไอ ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ การใช้สมุนไพร เพื่อลดอาการไอ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับปัญหาอาการไอในผู้ป่วยโรคไข้หวัดกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับ การวินิจฉัยและรักษาโดยพยาบาลเวชปฏิบัติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสานแว้ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึง เดือนมีนาคม 2565 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 70 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 38 คนโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแนว คำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 82.86 มีอายุเฉลี่ย 67.90 ± 0.28 ปีมี ความรู้และความพึงพอใจต่อการรับบริการอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 54.28 มีพฤติกรรมการดูแลอาการไอในระดับมาก ร้อยละ 51.43 มีระดับปัญหาอาการไอโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 3.17, S.D. = 0.56) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับระดับปัญหาอาการไอในผู้ป่วยโรคไข้หวัดกลุ่มผู้สูงอายุ คือ ปัจจัยด้านระดับความถี่ในการระคายเคืองคอ ความถี่ ของการไอ ความพึงพอใจในการรับบริการ ความรู้เรื่องไข้หวัด การใช้สมุนไพร และพฤติกรรมดูแลตนเอง อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ (p < 0.05)

          คำสำคัญ: โรคไข้หวัด อาการไอ ผู้สูงอายุ สมุนไพร

ประวัติผู้แต่ง

กมลทิพย์ ทัพเจริญ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

วุธิพงศ์ ภักดีกุล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

วรินท์มาศ เกษทองมา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-10-04