การศึกษาผลโปรแกรมการพัฒนาความเข้มแข็งทางใจในวัยรุ่น โดยใช้คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน

ผู้แต่ง

  • นฤภัค ฤธาทิพย์ กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • สตรีรัตน์ รุจิระชาคร กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

บทคัดย่อ

          การสร้างความเข้มแข็งทางใจ เป็นการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาให้วัยรุ่นมีความเข้มแข็งทางจิตใจ เกิด ความภูมิใจและรู้สึกถึงคุณค่าในตนเอง ปรับตัวได้หากพบความผิดหวังหรือได้รับผลกระทบทางจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับวัยรุ่นในการเติบโต และก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการ พัฒนาความเข้มแข็งทางใจในวัยรุ่น โดยใช้คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมที่ไม่เท่าเทียมกัน หรือแบบสองกลุ่มวัดสองครั้ง ในนักเรียนโรงเรียนสนมวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ โดย ใช้ระยะเวลา 3 วัน กลุ่มตัวอย่าง 69 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 40 คน และ กลุ่มควบคุมจำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินความเข้มแข็งทางใจในเด็ก (Resilience Scale RS–48, 13–18 years) ของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t–test

         ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 13–15 ปี กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการพัฒนาความเข้มแข็งทางใจในวัยรุ่นโดยใช้คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน มีค่าความเข้มแข็งทางใจดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

         คำสำคัญ: ความเข้มแข็งทางใจในวัยรุ่น พลังใจวัยทีน วัยรุ่น

ประวัติผู้แต่ง

นฤภัค ฤธาทิพย์, กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการ กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

สตรีรัตน์ รุจิระชาคร, กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-10-04