ผลลัพธ์ทางสูติศาสตร์ของสตรีตั้งครรภ์ที่ส่งต่อมาคลอดที่โรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ตรีวิจิตร มุ่งภู่กลาง โรงพยาบาลสกลนคร

บทคัดย่อ

          ระบบการส่งต่อเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้สตรีตั้งครรภเ์ ข้าถึงบริการทางการแพทย์โดยเฉพาะในภาวะฉุกเฉิน ระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพนั้นมีความสำคัญต่อผลลัพธ์ทางสูติศาสตร์ที่ดี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลลัพธ์ทางสูติศาสตร์ของสตรีตั้งครรภ์ที่ส่งต่อมาคลอดที่โรงพยาบาลสกลนครและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ทาง สูติศาสตร์ของสตรีตั้งครรภ์ที่ส่งตัวมาคลอดที่โรงพยาบาลสกลนคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยย้อนหลังเชิงพรรณนา ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 โดยศึกษาสตรีตั้งครรภ์ทุกรายที่ส่งต่อมาคลอดที่โรง พยาบาลสกลนคร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานโดยการทดสอบไคสแควร์ และอัตราความ เสี่ยง (odds ratio) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          ผลการศึกษาพบว่า สตรีตั้งครรภ์ส่งต่อมาคลอดที่โรงพยาบาลสกลนครมีจำนวน 1,194 ราย ส่วนใหญ่อายุ 20–35 ปี (ร้อยละ 66.9) สาเหตุการส่งต่อมากที่สุด คือ ภาวะผิดสัดส่วนของอุ้งเชิงกรานมารดากับศีรษะทารก (ร้อยละ 21.1) และสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีภาวะโลหิตจางร่วมด้วยร้อยละ 20.6 สตรีตั้งครรภ์ร้อยละ 43 คลอดทางช่องคลอด และร้อยละ 45.7 คลอดโดยการผ่าตัดคลอด การศึกษาภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ ไม่พบมารดาเสียชีวิต การเบ่ง คลอดนานเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารก (p = 0.016, odd ratio = 1.979 (95%CI, 1.128– 3.473) และการเคยผ่าตัดคลอดเป็นปัจจัยป้องกันต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารก (p = 0.028, odd ratio = 0.372 (95%CI, 0.149–0.930) จากการศึกษานี้แสดงถึงภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการ พัฒนาทักษะและความรู้ของทีมให้บริการดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องจำเป็น รวมถึงการพัฒนาประสิทธิภาพการส่งต่อ เพื่อ ลดภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้ต่อไป

          คำสำคัญ: ผลลัพธ์ทางสูติศาสตร์ ผลลัพธ์ของมารดาและทารก ระบบส่งต่อ

ประวัติผู้แต่ง

ตรีวิจิตร มุ่งภู่กลาง, โรงพยาบาลสกลนคร

นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13