การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของพยาบาลผ่าตัดฉุกเฉินนอกเวลาราชการ แผนกการพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของพยาบาลผ่าตัดฉุกเฉินนอกเวลาราชการ แผนกการพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลผู้นิเทศ จำนวน 16 คน และพยาบาล ผู้รับการนิเทศ จำนวน 16 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2565 ถึง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล 3) ทดลองใช้รูป แบบการนิเทศทางการพยาบาล และ 4) ประเมินรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล เครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบประเมิน สมรรถนะพยาบาลผ่าตัดฉุกเฉินนอกเวลาราชการ มีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.99 และค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัม ประสิทธ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.98 และ 2) แบบบันทึกและสังเกตพฤติกรรมการนิเทศทางการพยาบาล วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ paired t–test
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของพยาบาลผ่าตัดฉุกเฉินนอกเวลาราชการ แผนกการ พยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) ระบบหรือกระบวนการสำหรับการนิเทศ ทางการพยาบาลผ่าตัดฉุกเฉินนอกเวลาราชการ TKSA model 4 องค์ประกอบ ได้แก่ T–team work, K–knowledge, S–skill และ A–attitude และ 2) กระบวนการการนิเทศทางการพยาบาลผ่าตัดฉุกเฉินนอกเวลาราชการ ตามรูปแบบ GROW model 3 ระยะ คือ ระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด และระยะหลังการผ่าตัด และพบว่า หลังการใช้รูปแบบการ นิเทศทางการพยาบาลผ่าตัดฉุกเฉินนอกเวลาราชการที่พัฒนาขึ้น พยาบาลผู้รับการนิเทศมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะ เท่ากับ 249.19 (S.D. = 31.65) ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะก่อนการนิเทศ (217.94, S.D. = 25.41) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ ควรศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้รับบริการจากการใช้รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของพยาบาล ผ่าตัดฉุกเฉินนอกเวลาราชการ แผนกการพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล การผ่าตัดฉุกเฉินนอกเวลาราชการ