ผลของการใช้สมุดพก Newborn Jaundice และแอปพลิเคชัน Newborn Jaundice ต่อความรู้และพฤติกรรมของผู้ดูแลทารกแรกเกิดที่เคยมีภาวะตัวเหลือง เมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • มารศรี ศิริสวัสดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • อภิสิทิทธิ์ ฉกรรจ์ศิลป์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ปวีณา โฉมดี โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–Experimental Research) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และพฤติกรรมของ ผู้ดูแลทารกแรกเกิดที่เคยมีภาวะตัวเหลืองเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลระหว่างกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมความรู้และ พฤติกรรมผ่านสมุดพก Newborn Jaundice กับกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมผ่านแอปพลิเคชัน Newborn Jaundice กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลทารกแรกเกิดที่เคยมีภาวะตัวเหลืองเมื่อจ????ำหน่ายออกจากโรงพยาบาล นครพนม รวมทั้งหมดเป็น 30 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มละ 15 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมิน ความรู้และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลทารกแรกเกิดที่เคยมีภาวะตัวเหลืองที่จะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เปรียบ เทียบคะแนนความรู้และพฤติกรรมระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent t–test

            ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ทั้ง 2 กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง โดย ในกลุ่มที่ใช้แอปพลิเคชัน Newborn Jaundice มีค่าเฉลี่ย (Mean = 9.87, S.D. = 0.34) เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมความรู้จากสมุดพกให้ความรู้ในการดูแลทารกตัวเหลือง Newborn Jaundice เล็กน้อย (Mean = 8.27, S.D. = 0.44) และเมื่อนำค่าคะแนนเฉลี่ยของทั้ง 2 กลุ่มมาเปรียบเทียบกันโดยการใช้สถิติ Independent t–test พบว่า คะแนนความรู้ไม่แตกต่างกัน 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมกลุ่มที่ใช้สมุดพกมีค่าเฉลี่ย คะแนนพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 14.47, S.D. = 0.98) ส่วนกลุ่มที่ใช้แอปพลิเคชันมีค่าเฉลี่ย คะแนนพฤติกรรมเพิ่มขึ้นในระดับสูง (Mean = 19.00, S.D. = 1.34) และเมื่อนำค่าคะแนนเฉลี่ยของทั้ง 2 กลุ่มมา เปรียบเทียบกันโดยการใช้สถิติ Independent t–test พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p = 0.006) ดังนั้น การใช้สมุดพก Newborn Jaundice และการใช้แอปพลิเคชัน Newborn Jaundice ช่วยส่งเสริม ความรู้ผู้ดูแล ให้เพิ่มขึ้นในระดับเดียวกัน แต่ในด้านพฤติกรรม การใช้แอปพลิเคชัน Newborn Jaundice สามารถส่งเสริมพฤติกรรม ของผู้ดูแลได้ดีกว่าการใช้สมุดพก Newborn Jaundice

           คำสำคัญ: ทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง การดูแลทารกตัวเหลืองเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

ประวัติผู้แต่ง

มารศรี ศิริสวัสดิ์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

อภิสิทิทธิ์ ฉกรรจ์ศิลป์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

ปวีณา โฉมดี, โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25