ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนของทารกแรกเกิดในสถานการณ์แพร่ระบาด โรคโควิด–19 ในเขตอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ปรีดิ์ ศรีสมัย โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
  • ปรีดิ์ ศรีสมัย โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
  • จิรัฐติกาล สุตวณิชย์ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ

             ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด–19) การได้รับสารไอโอดีนน้อยลงส่งผล กระทบต่อสุขภาพมารดาและทารก ทำให้แท้ง คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักทารกแรกเกิดน้อย ทารกมีภาวะโลหิตจาง และพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล สังคม และ สิ่งแวดล้อม กับการพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารก กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงหลังคลอดและทารก จำนวน 134 คน เก็บข้อมูลเดือนมิถุนายน–กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตาม ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละและวิเคราะห์พหุถดถอยโลจิสติกส์

              ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุ 20–34 ปี ร้อยละ 67.7 บริโภคเกลือไอโอดีนก่อนตั้งครรภ์ ร้อยละ 50.7 ขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 67.2 ฝากครรภ์ได้รับเกลือไอโอดีน ร้อยละ 45.5 รับประทานโฟเลตเตรียมตั้งครรภ์ ร้อยละ 30.6 ฝากครรภ์ได้เกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 53.0 รับประทานยาเสริมไอโอดีนทุกวัน ร้อยละ 57.5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะพร่อง ไทรอยด์ฮอร์โมนในทารก ได้แก่ ครัวเรือนไม่บริโภคเกลือไอโอดีน ก่อนการตั้งครรภ์ไม่รับประทานโฟเลต การศึกษา ต่ำกว่ามัธยมศึกษา และที่พักอาศัยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ผลการวิเคราะห์พหุถดถอยโลจิสติกส์พบว่า กลุ่มศึกษาที่สามีดื่มสุรา ทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าผู้ที่สามีไม่ดื่มสุรา 0.26 เท่า (ORadj = 0.26, 95%CI 0.10–0.66) สามีสูบบุหรี่ ทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนมากกว่าผู้ที่สามีไม่สูบบุหรี่ 0.43 เท่า (ORadj = 0.43, 95%CI 0.20–0.94) และมารดาที่มีภาวะทุพโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ ทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์มากว่ามารดา ที่มีภาวะโภชนาการปกติ 2.59 เท่า (ORadj = 2.59, 95%CI = 1.17–5.74) ดังนั้น การบริโภคไอโอดีนจึงมีความ สำคัญต่อหญิงตั้งครรภ์ ควรออกแบบระบบติดตามประเมินการรับประทานยาอย่างเคร่งครัดเพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ ได้รับไอโอดีนเพียงพอในทุกวัน

              คำสำคัญ: ทารก หญิงตั้งครรภ์ ไทรอยด์ฮอร์โมน เกลือไอโอดีน ยาเสริมไอโอดีน อาหารไอโอดีนสูง

ประวัติผู้แต่ง

ปรีดิ์ ศรีสมัย, โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

ปรีดิ์ ศรีสมัย, โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

จิรัฐติกาล สุตวณิชย์, โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25