การศึกษาเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติด้านการบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการหายใจ ในหญิงตั้งครรภ์ระหว่างการสอนโดยใช้สื่อแบบมัลติมีเดียกับการสอนตามปกติ ของหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลนครพนม
บทคัดย่อ
การให้สุขศึกษาโดยเตรียมความพร้อมก่อนคลอดในหญิงตั้งครรภ์เป็นการพัฒนาความรู้ ทัศนคติและความ สามารถดูแลตนเอง การวิจัยครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ และทัศนคติด้านการบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการ หายใจในหญิงตั้งครรภ์ระหว่างกลุ่มสอนสุขศึกษาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดระยะรอคลอด โดยเน้นย้ำเทคนิคผ่อนคลาย ความเจ็บปวดด้วยวิธีการหายใจ ผ่านทางสื่อมัลติมีเดีย กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับความรู้ตามปกติ ตั้งแต่เดือนมีนาคม– พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 196 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 98 ราย และ กลุ่มศึกษา 98 ราย ผู้วิจัยพัฒนาเครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และสื่อการสอนแบบมัลติมีเดียเทคนิคผ่อนคลายความเจ็บปวดด้วยการหายใจ เครื่องมือวิจัยมีความเที่ยงตรง เชิงโครงสร้างโดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.39 ถึง 0.73 มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.78 และค่าความ เชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.92 การเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลความรู้ และทัศนคติ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนความรู้ และทัศนคติด้วยสถิติทีแบบเป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ และทัศนคติด้านเทคนิคบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการหายใจในหญิงตั้งครรภ์มีความ แตกต่างกันระหว่างกลุ่มศึกษาที่ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนคลอดโดยการสอนสุขศึกษาจากเจ้าหน้าที่พยาบาล ผ่านการบรรยายและสาธิต ควบคู่กับการใช้สื่อการสอนแบบมัลติมีเดีย กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการเตรียมความพร้อม ก่อนคลอดโดยการสอนสุขศึกษาตามปกติ เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทัศนคติ พบว่า กลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
คำสำคัญ: สื่อการสอนแบบมัลติมีเดีย การบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการหายใจ