ผลการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมุกดาหาร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาสมรรถนะและผลการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ 279 คน ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 – ธันวาคม 2565 เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ 8 ด้าน ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ก่อนดำเนินโครงการ อุบัติการณ์ความเสี่ยงทางคลินิกปีงบประมาณ 2563–2565 พบมารดาเสียชีวิต 1, 3 และ 2 ราย การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการใส่คาสายสวนปัสสาวะ ร้อยละ 1.92, 1.15 และ 1.78 ปอดอักเสบ จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ร้อยละ 2.36, 2.13 และ 2.05 และข้อร้องเรียนด้านพฤติกรรมการบริการ 101, 156 และ 80 ครัง้ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ พบว่า สมรรถนะที่มีค่าเฉลี่ย คะแนนสูงสุด คือสมรรถนะ ที่ 7 ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งมีสมรรถนะระดับดีมาก 2 ข้อ (x ̅ = 4.96, S.D. = 0.18) มีสมรรถนะระดับ ดี 3 ข้อ (x ̅ = 4.00, S.D. = 0.00) สมรรถนะระดับดี คือ สมรรถนะที่ 8 ด้านสังคม (x ̅ = 4.00, S.D. = 0.00) และ สมรรถนะที่ 1 ด้านจริยธรรม จรรณยาบรรณ และกฎหมาย (x ̅ = 3.63, S.D. = 0.48) สมรรถนะระดับปานกลาง คือ สมรรถนะที่ 2 ด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สมรรถนะที่ 3 ด้านคุณลักษณะเชิงวิชาชีพ และสมรรถนะที่ 4 ด้าน ภาวะผู้นำการจัดการและพัฒนาคุณภาพ และสมรรถนะระดับน้อย คือ สมรรถนะที่ 5 ด้านวิชาการและการวิจัย และ สมรรถนะที่ 6 ด้านสื่อสารและสัมพันธภาพ
หลังดำเนินโครงการ จำนวน 29 โครงการ คือ 1) เชิงปฏิบัติการ 11 โครงการ 2) เชิงวิชาการ 15 โครงการ และ 3) การนิเทศทางการพยาบาล 3 โครงการ ไม่พบอุบัติการณ์มารดาเสียชีวิต การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการ ใส่คาสายสวนปัสสาวะลดลงร้อยละ 1.05 ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงร้อยละ 1.90 งานวิจัยหรือ นวัตกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.02 และข้อร้องเรียนด้านพฤติกรรมการบริการลดลงร้อยละ 27.0 จึงควรใช้จากผลศึกษา ครั้งนี้เป็นแนวทางในการจัดการอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะสำหรับพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยต่อไป
คำสำคัญ: พยาบาลวิชาชีพ ผลการพัฒนาสมรรถนะ สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ