รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศทางคลินิกกับผลลัพธ์ทางการพยาบาลใน หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศทางคลินิกกับผลลัพธ์ทางการ พยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลตติยภูมิ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 234 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพต่อการนิเทศทางคลินิกและผลลัพธ์ทางการพยาบาล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดย ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน และหาค่าความเที่ยงโดยการใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.84 และ 0.96 วิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ด้วยสถิติการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์ตามแบบจำลองสมมติฐานมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ ได้จากกลุ่มตัวอย่าง (Chi–Square = 20.945 , df = 11, p = 0.034 , CFI = 0.986, GFI = 0.971, RMSEA = 0.042) ทุกค่าผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยการนิเทศทางคลิกนิกส่งผลทางบวกต่อผลลัพธ์ทางการพยาบาลในระดับ มาก (Beta = 0.82, p < 0.01) นอกจากนี้ ยังยืนยันความตรงเชิงโครงสร้างได้ว่า การนิเทศทางทางคลินิกมี 3 องค์ ประกอบ สอดคล้องกับแนวคิดของ Proctor ได้แก่ 1) การนิเทศตามแบบแผน 2) การนิเทศตามมาตรฐาน และ 3) การนิเทศตามหลักสมานฉันท์ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ดีมาก โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.91, 0.87 และ 0.81 ตามลำดับ และผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่คัดสรรในหอผู้ป่วยหนักมี 3 ด้าน สอดคล้องตามแนวคิดของ Doran ได้แก่ 1) ด้านความปลอดภัย 2) ด้านการควบคุมอาการ และ 3) ด้านความพึงพอใจของผู้ป่วย ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ดีมีค่าน้ำ หนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.58, 0.60 และ 0.54 ตามลำดับ
คำสำคัญ: การนิเทศทางคลินิก ผลลัพธ์ทางการพยาบาล หอผู้ป่วยหนัก การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง