รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศทางคลินิกกับผลลัพธ์ทางการพยาบาลใน หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

ผู้แต่ง

  • วรรณชนก จันทชุม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อภิญญา จำปามูล มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ขนิษฐา วรธงชัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จีรวรรณ์ ศิริมนตรี โรงพยาบาลสกลนคร
  • จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สมปรารถนา ดาผา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรภิมล สุขเพีย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

             การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศทางคลินิกกับผลลัพธ์ทางการ พยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลตติยภูมิ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 234 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพต่อการนิเทศทางคลินิกและผลลัพธ์ทางการพยาบาล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดย ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน และหาค่าความเที่ยงโดยการใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.84 และ 0.96 วิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ด้วยสถิติการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

                ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์ตามแบบจำลองสมมติฐานมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ ได้จากกลุ่มตัวอย่าง (Chi–Square = 20.945 , df = 11, p = 0.034 , CFI = 0.986, GFI = 0.971, RMSEA = 0.042) ทุกค่าผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยการนิเทศทางคลิกนิกส่งผลทางบวกต่อผลลัพธ์ทางการพยาบาลในระดับ มาก (Beta = 0.82, p < 0.01) นอกจากนี้ ยังยืนยันความตรงเชิงโครงสร้างได้ว่า การนิเทศทางทางคลินิกมี 3 องค์ ประกอบ สอดคล้องกับแนวคิดของ Proctor ได้แก่ 1) การนิเทศตามแบบแผน 2) การนิเทศตามมาตรฐาน และ 3) การนิเทศตามหลักสมานฉันท์ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ดีมาก โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.91, 0.87 และ 0.81 ตามลำดับ และผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่คัดสรรในหอผู้ป่วยหนักมี 3 ด้าน สอดคล้องตามแนวคิดของ Doran ได้แก่ 1) ด้านความปลอดภัย 2) ด้านการควบคุมอาการ และ 3) ด้านความพึงพอใจของผู้ป่วย ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ดีมีค่าน้ำ หนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.58, 0.60 และ 0.54 ตามลำดับ

                คำสำคัญ: การนิเทศทางคลินิก ผลลัพธ์ทางการพยาบาล หอผู้ป่วยหนัก การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

ประวัติผู้แต่ง

วรรณชนก จันทชุม, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์สาขาวิชาการศึกษาวิจัยและบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อภิญญา จำปามูล , มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์สาขาวิชาการศึกษาวิจัยและบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ขนิษฐา วรธงชัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์สาขาวิชาการศึกษาวิจัยและบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จีรวรรณ์ ศิริมนตรี, โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร

จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์สาขาวิชาการศึกษาวิจัยและบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สมปรารถนา ดาผา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์สาขาวิชาการศึกษาวิจัยและบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์สาขาวิชาการศึกษาวิจัยและบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พรภิมล สุขเพีย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์สาขาวิชาการศึกษาวิจัยและบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25