การจี้ทางลัดกระแสไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว ร่วมกับมีทางลัดกระแสไฟฟ้าที่มีความเสี่ยงสูง

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา สวัสดิมานนท์ โรงพยาบาลสกลนคร

บทคัดย่อ

         Atrial fibrillation (AF) ที่พบร่วมกับทางลัดกระแสไฟฟ้าหัวใจเป็นภาวะที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นความเสี่ยงสูงทำให้เกิดภาวะช้อกจากความดันโลหิตลดต่ำมาก เกิด Ventricular fibrillation (VF) และหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden cardiac death) จากการศึกษาพบว่า ความเสี่ยงในการเกิด AF ในผู้ป่วย Wolff–Parkinson–White (WPW) syndrome มีประมาณ 15% โดยกลไกการเกิดนั้นยังไม่ทราบชัดเจน และประมาณ 25% ของผู้ป่วย WPW syndrome มีทางลัดกระแสไฟฟ้าที่มี anterograde refractory period สั้นกว่า 220 ms ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิด Ventricular fibrillation และเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันตามมา ดังนั้นเมื่อพบผู้ป่วยที่มี ภาวะ AF with WPW เป็นภาวะฉุกเฉินที่จะต้องรีบรักษา โดยการปรับกระแสไฟฟ้าหัวใจ (Defibrillation) ในผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตต่ำ และหลีกเลี่ยงยาที่ยับยั้ง AV node เช่น Verapamil, Diltiazem, Digoxin และกลุ่ม Beta blocker เพราะจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางลัดเพิ่มมากขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด Ventricular fibrillation แม้กระทั่งยา Amiodarone ที่ใช้อย่างแพร่หลาย ยังมีคำเตือนห้ามใช้ในภาวะนี้ การรักษาโดยการจี้กระแสไฟฟ้า(radiofrequency ablation) เพื่อตัดทางลัดกระแสไฟฟ้าจึงมีบทบาทสำคัญมากในการช่วยชีวิตผู้ป่วย โดยไม่พบว่าการตัดทางลัดกระแสไฟฟ้าหัวใจนี้มีส่วนป้องกันการเกิด AF อย่างถาวร ซึ่งการจี้ทางลัดกระแสไฟฟ้าในผู้ป่วยที่มีภาวะ AF มีความยากต่อการแปลผลและหาจุดทางเบี่ยงกระแสไฟฟ้าจึงต้องใช้การหาจุดทางลัดจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจวางแผนการจี้กระแสไฟฟ้าหัวใจจากการใช้ภาพ Fluoroscope เพื่อดูตำแหน่งสายจี้กระแสไฟฟ้าหัวใจ (Anatomical mapping) และสัญญาณไฟฟ้าจากตำแหน่งทางลัด (Activation mapping)

           คำสำคัญ: Atrial fibrillation, Wolff–Parkinson–White Syndrome, Ventricular fibrillation, Sudden cardiac death, Radiofrequency ablation.

ประวัติผู้แต่ง

เจนจิรา สวัสดิมานนท์ , โรงพยาบาลสกลนคร

นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสกลนคร

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-14