การวิเคราะห์เวลารอคอยรับยาและความพึงพอใจของผู้รับบริการ ต่องานบริการเภสัชกรรม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีสงคราม

ผู้แต่ง

  • กิตติกานต์ มัยวงศ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • วุธิพงศ์ ภักดีกุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • วรินท์มาศ เกษทองมา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • บุญมี โพธิ์คำ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

บทคัดย่อ

         งานวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระยะเวลารอคอยรับยาและความพึงพอใจของผู้รับบริการ ต่องานบริการเภสัชกรรม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีสงคราม ซึ่งในปีงบประมาณ 2561–62 มีจำนวนผู้รับบริการ แผนกผู้ป่วยนอก 144,335 และ 148,733 ครั้ง เป็นจำนวนใบสั่งยา 86,211 และ 91,492 ใบ ตามลำดับ เก็บข้อมูล ระยะเวลารอคอยรับยา จากการลงบันทึกเวลาขั้นตอนการปฏิบัติงานในใบสั่งยา จำนวน 788 ใบ ข้อมูลความพึงพอใจ เก็บด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 จากผู้รับบริการจำนวน 380 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจาก การสนทนากลุ่มบุคลากร จำนวน 7 คน โดยทำการศึกษาในช่วง 1-31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการเป็นเพศชาย ร้อยละ 50.80 ช่วงอายุ 31 ถึง 60 ปี ร้อยละ 69.47 อาชีพ เกษตรกร ร้อยละ 33.90 เป็นโรคเรื้อรัง ร้อยละ 61.60 เข้ารับบริการที่แผนกอายุรกรรม ร้อยละ 61.10 และสิทธิการ รักษาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 45.80 ความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับไม่พึงพอใจ ส่วนด้านการ ให้ความเชื่อมั่นของเภสัชกร อยู่ในระดับประทับใจ โดยความคาดหวังของผู้มารับบริการอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.82 ± 0.23 คะแนน ระยะเวลารอคอยรับยาเฉลี่ยเท่ากับ 50.74 ± 10.19 นาที ซึ่งนานกว่าเวลามาตรฐานคุณภาพ โรงพยาบาลที่กำหนดเวลาเฉลี่ย 20 นาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.0001) โดยระยะเวลารอคอยนานที่สุดใน ขั้นตอนการจัดยา เฉลี่ย 44.69 ± 9.67 นาที จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องพัฒนาระบบงานบริการเภสัชกรรม แผนก ผู้ป่วยนอก โดยใช้แนวทางที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้

          คำสำคัญ: ความพึงพอใจ งานบริการเภสัชกรรม ระยะเวลารอคอยรับยา ผู้ป่วยนอก

ประวัติผู้แต่ง

กิตติกานต์ มัยวงศ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

วุธิพงศ์ ภักดีกุล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

วรินท์มาศ เกษทองมา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

บุญมี โพธิ์คำ, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-10-04