การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงในผู้ใหญ่ โดยแบบประเมิน FASTHUG และ SAR ในหอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • บงกฎ ปัจสา โรงพยาบาลสกลนคร
  • ณัติยา พรหมสาขา ณ สกลนคร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • อรอุมา แก้วเกิด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

บทคัดย่อ

              การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่ปอดอักเสบรุนแรงและ ประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่ปอดอักเสบรุนแรง โดยแบบประเมิน FASTHUG และ SAR ในหอ ผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 14 คน และผู้ป่วยผู้ใหญ่ปอดอักเสบรุนแรง จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยระหว่าง เดือนสิงหาคม–ตุลาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ 1) เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งตรวจสอบความ ตรงของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน FASTHUG และ SAR และแบบประเมิน ความพึงพอใจของพยาบาล ทดสอบด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.74 และ 0.70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการวิเคราะห์แก่นสาระ

               ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่ปอดอักเสบรุนแรงโดยแบบประเมิน FASTHUG และ SAR ประกอบด้วย การให้อาหาร (feeding, F) การดูแลจัดการความปวด (analgesia, A) การควบคุมระบบประสาท (sedation, S) การป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (thromboembolic prevention, T) การจัดท่านอน ให้ศีรษะสูงมากกว่า 30 องศา (head of the bed elevated, H) การป้องกันการเกิดแผลในทางเดินอาหารจากภาวะน้ำตาลในเลือด (glucose control, G) การหย่าเครื่องช่วย หายใจ (spontaneous weaning trail, S) การป้องกันถุงลมปอด และการฟื้นฟูสภาพปอด (aggressive alveolar maintenance, A) และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล (rational use of antibiotics, R) ความพึงพอใจเฉลี่ย ของพยาบาลหลังใช้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅ = 4.57, S.D. = 4.32)

             คำสำคัญ: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่ปอดอักเสบรุนแรง FASTHUG SAR

ประวัติผู้แต่ง

บงกฎ ปัจสา, โรงพยาบาลสกลนคร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสกลนคร

ณัติยา พรหมสาขา ณ สกลนคร, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

อรอุมา แก้วเกิด, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13