ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ภัทราพรรณ อาษานาม โรงพยาบาลอุดรธานี
  • สมปรารถนา ดาผา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ ทั้ง 9 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน แผนกห้องผ่าตัด ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 230 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามเจตคติต่อการบริหารความเสี่ยงทางคลินิก 3) แบบสอบถามการบริหารแบบมีส่วนร่วม และ 4) แบบสอบถามการบริหารความเสี่ยงทางคลินิก ตรวจสอบความ ตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงโดยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.88, 0.95 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

             ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในระดับสูง (x ̅ = 3.92, S.D. = 0.37) 2) การบริหารแบบมีส่วนร่วมและเจตคติ มีความ สัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง กับการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด (r = 0.664 และ r = 0.580 ตามลำดับ) ส่วนประสบการณ์การทำงานในห้องผ่าตัด มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการ บริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด 3) ตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์การบริหารความเสี่ยงทาง คลินิกของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม เจตคติ และประสบการณ์การทำงานในห้องผ่าตัด โดยร่วมกันพยากรณ์ การบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 51

             คำสำคัญ: การบริหารความเสี่ยงทางคลินิก เจตคติต่อการบริหารความเสี่ยง การบริหารแบบมีส่วนร่วม

ประวัติผู้แต่ง

ภัทราพรรณ อาษานาม, โรงพยาบาลอุดรธานี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี

สมปรารถนา ดาผา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13