การศึกษาเปรียบเทียบและความสัมพันธ์ระหว่างการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ ในระยะคลอดด้วยวิธี Dare และวิธีตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงกับน้ำหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบางบัวทอง

ผู้แต่ง

  • วิภาวรรณ รัตนพิทักษ์ โรงพยาบาลบางบัวทอง

บทคัดย่อ

            การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลของการ คาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในระยะคลอดด้วยวิธี Dare และวิธีตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงกับน้ำหนักทารกจริง ใน หญิงตั้งครรภ์จำนวน 115 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการ วัดความสูงของมดลูกและวัดความยาวรอบท้องของหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ ANOVA วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

           ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 62.90 อายุ 20–29 ปี อายุเฉลี่ย 23.44 ± 4.62 ปี เป็นการตั้งครรภ์ แรก ร้อยละ 41.70 คลอดปกติ ร้อยละ 67.00 คลอดทารกเพศชาย ร้อยละ 54.80 น้ำหนักเฉลี่ยก่อนการตั้งครรภ์ 47.48 กก. ค่า BMI เฉลี่ยก่อนการตั้งครรภ์ 19.05 กก./ม2 และน้ำหนักเฉลี่ยวันมาคลอด 57.70 กก. ค่า BMI เฉลี่ยวันมาคลอด 23.17 กก./ม2 ค่าเฉลี่ยความยาวรอบท้องและความสูงของมดลูก 89.62 และ 30.74 ซม. ตาม ลำดับ น้ำหนักทารกคาดคะเนโดยวิธี Dare เฉลี่ย 2,757.42 กรัม น้ำหนักทารกคาดคะเนโดยวิธีตรวจด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูงเฉลี่ย 2,993.10 กรัม และน้ำหนักทารกจริงเฉลี่ย 3,014.92 กรัม เมื่อทดสอบทางสถิติความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยน้ำหนักทารกระหว่างสามกลุ่มพบว่า ไม่แตกต่างกัน น้ำหนักทารกที่คาดคะเนโดยวิธี Dare และน้ำหนักทารก ที่คาดคะเนโดยวิธีตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับน้ำหนักทารกจริง (r = 0.41 และ 0.47 ตามลำดับ) แต่เป็นค่าความสัมพันธ์ในระดับต่ำ

             คำสำคัญ: การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ ความสูงของยอดมดลูก เส้นรอบท้อง วิธี Dare

ประวัติผู้แต่ง

วิภาวรรณ รัตนพิทักษ์, โรงพยาบาลบางบัวทอง

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานการพยาบาลผู้คลอด กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลบางบัวทอง

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25