การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในบุคลากรโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

ผู้แต่ง

  • chote pavasuthikul โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • ชนิญญา พัฒนศักดิ์ภิญโญ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • กาญจนา ทรัพย์สิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในบุคลากรของโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์       :   เพื่อศึกษาระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในบุคลากรของโรงพยาบาล ภายใต้โปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลรายผู้ป่วยวัณโรคระดับชาติ (National Tuberculosis Information Program : NTIP online) โดยศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณ ได้แก่ ความไว (sensitivity) ค่าพยากรณ์บวก (positive predictive value  : PPV) ความทันเวลา ความเป็นตัวแทน และคุณภาพของข้อมูล และศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพ ได้แก่ ความยากง่าย ความยืดหยุ่น ความยอมรับ ความยั่งยืน และการใช้ประโยชน์จากระบบเฝ้าระวัง

วิธีศึกษา           :   ศึกษาเชิงพรรณนา โดยทบทวนเวชระเบียนบุคลากรของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ทุกประเภทการจ้างงาน ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นวัณโรคปอด ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 ธันวาคม 2563 และวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะเชิงปริมาณด้วยวิธีถ่วงค่าน้ำหนัก นำเสนอข้อมูลด้วยค่าความถี่และร้อยละ ศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องในระบบเฝ้าระวังโรค เป็นรายบุคคล 25 คน

ผลการศึกษา       :   บุคลากรในโรงพยาบาลป่วยด้วยวัณโรคปอด 32 คน จากจำนวนบุคลากรเฉลี่ยต่อปี 2,095 คน คิดเป็นอุบัติการณ์ 381.9 ต่อแสนประชากร เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.9 อายุเฉลี่ย 37.6 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.0 ปี ผลการศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณ คำนวณค่าความไวของระบบเฝ้าระวัง ได้ร้อยละ 78.1 และคำนวณค่าพยากรณ์บวก ได้ร้อยละ 86.2 มีความทันเวลาในการรายงานร้อยละ 100 และสามารถเป็นตัวแทนของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้ คุณภาพของข้อมูลพบว่า ตัวแปรสำคัญมีความถูกต้อง ร้อยละ 100 แต่มีความครบถ้วนร้อยละ 86.0 ผลการศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพ พบว่า ความยากง่าย การยอมรับ ความมั่นคง และการนำไปใช้ประโยชน์ของระบบเฝ้าระวังโปรแกรม NTIP online อยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนความยืดหยุ่นอยู่ในเกณฑ์พอใช้

สรุป                :   ระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในบุคลากรของโรงพยาบาล ด้วยโปรแกรม NTIP online อยู่ในเกณฑ์ดี ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังโรคคือ เจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาควรมีการคัดกรองผู้ป่วยตามนิยามในการเฝ้าระวังโรคอย่างเคร่งครัด ข้อมูลผู้ป่วยในระบบเฝ้าระวังแม้จะมีความถูกต้อง แต่ยังขาดความครบถ้วน ทำให้ขาดข้อมูลสำคัญในการวินิจฉัย ดังนั้นจึงควรมีการตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยจากโปรแกรมของโรงพยาบาล ก่อนนำเข้าสู่โปรแกรมเฝ้าระวัง NTIP online เพื่อให้ข้อมูลมีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

คำสำคัญ           :   ระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในบุคลากรของโรงพยาบาล

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คนสาธารณสุขสุ่มเสี่ยงติดวัณโรค[อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://politics.kachon.com/152313

World Health Organization. Global tuberculosis report 2017 [online]. 2017 [cited 2018 Nov 20]. Available from: https://www.who.int/tb/publications/global_report/gtbr2017_ main_text.pdf

Trakultaweesuk P, Niyompattama A, Boonbamroe S, Chaiear N. Tuberculosis among hospital staffs in a tertiary care hospital, Northeastern Thailand. Srinagarind Med J 2017;32:204-13.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรค ประเทศไทย พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. แนวทางการเฝ้าระวังทางการแพทย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรค. ใน: อรพันธ์ อันติมานนท์, บรรณาธิการ. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมวัณโรค ในบุคลากรที่ปฏิบัติงานของสถานพยาบาล ประเทศไทย พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561. หน้า 49 – 69.

National Tuberculosis Information Program (NTIP): สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก https://tbcmthailand.ddc.moph.go.th/uiform /Manual.aspx

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการสอบสวนและควบคุมวัณโรค พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-11-03

วิธีการอ้างอิง

pavasuthikul, chote, พัฒนศักดิ์ภิญโญ ชนิญญา, และ ทรัพย์สิน กาญจนา. 2021. “การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในบุคลากรโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 18 (3). Nakhonsawan Thailand:248. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/10403.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)