การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรู้ร่วมกับการบำบัดระบบเมทริกซ์โปรแกรม ในผู้ป่วยยาเสพติดเพื่อป้องกันการเสพซ้ำ
คำสำคัญ:
พัฒนาเสริมสร้างความรู้, รูปแบบการเสริมสร้างความรู้, พัฒนารูปแบบร่วมกับเมทริกซ์โปรแกรมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างความรู้ร่วมกับการบำบัดระบบเมทริกซ์โปรแกรมในผู้ป่วยยาเสพติดเพื่อป้องกันการเสพซ้ำ
วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) ประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ โดยการเสริมสร้างความรู้ผู้ป่วยด้านโทษและผลกระทบยาเสพติด ในขั้นตอนก่อนการบำบัด ระหว่างการบำบัด และหลังจบการบำบัด และ 2) ขั้นตอนการใช้และประเมินผลเครื่องมือโดยการประเมินความรู้ผู้ป่วยยาเสพติดก่อนและหลังจบการบำบัดระบบเมทริกซ์โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยทุกคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้เสพ ผู้ติดสารกระตุ้นประสาท กัญชา และสารระเหย ที่ไม่มีอาการทางจิตประสาท ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึง 30 มิถุนายน 2562 และเข้าบำบัดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมง 30 นาที รวม 16 ครั้ง ระยะเวลาอย่างน้อย 4 เดือน เปรียบเทียบความรู้ผู้ป่วยก่อนและหลังจบโปรแกรมการบำบัด โดยใช้ paired samples t test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P น้อยกว่า 0.05 เปรียบเทียบอัตราการไม่เสพซ้ำ 3 เดือนหลังจบการบำบัด (3 months remission rate) กับเป้าหมายกระทรวงสาธารณสุขที่ร้อยละ 92 อัตราจบการบำบัด ระดับความรู้ผู้ป่วยกับอัตราการไม่เสพซ้ำ 3 เดือนหลังจบการบำบัด และความพึงพอใจของผู้ป่วย
ผลการศึกษา : พัฒนาเครื่องมือเป็นชุดเสริมสร้างความรู้และชุดประเมินความรู้ผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วยสารกระตุ้นประสาท จำนวน 17 ข้อ ผู้ป่วยกัญชา 10 ข้อ และผู้ป่วยสารระเหย 10 ข้อ มีผู้จบการบำบัดสารกระตุ้นประสาท 43 คน กัญชา 27 คน และสารระเหย 12 คน ผู้ป่วยสารกระตุ้นประสาทมีคะแนนความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ36.7 (คะแนนเฉลี่ย 10.93±2.91 และ14.94±1.82, P < 0.001) ผู้ป่วยกัญชามีคะแนนความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 79.6 (คะแนนเฉลี่ย 4.90 ±1.88 และ 8.80 ±0.78, P < 0.001) และผู้ป่วยสารระเหยมีคะแนนความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 83.7 (คะแนนเฉลี่ย 3.69±0.89 และ 6.78± 1.06, P < 0.001) อัตราการไม่เสพซ้ำ 3 เดือนหลังจบการบำบัดเพิ่มจากร้อยละ 80.4 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 92.7 ในปี 2562 และอัตราจบการบำบัดเพิ่มจากร้อยละ 61.3 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 81.2 ในปี 2562 ผู้ป่วยที่มีคะแนนความรู้หลังจบการบำบัดระดับสูงหยุดเสพยาได้ 3 เดือนหลังจบการบำบัดในอัตราที่สูงกว่าผู้ป่วยที่มีคะแนนความรู้ระดับต่ำ และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 64.6 และระดับมาก ร้อยละ 27.1
สรุป : การพัฒนาการบำบัดระบบเมทริกซ์โปรแกรมร่วมกับการเสริมสร้างความรู้ด้านโทษและผลกระทบของยาเสพติด เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิผลดี ผู้ป่วยมีความรู้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีอัตราการไม่เสพซ้ำ 3 เดือนหลังจบการบำบัด (3 months remission rate) เพิ่มขึ้น เป็นไปตามตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ป่วยพึงพอใจมากขึ้น ผู้ให้การบำบัดให้ความรู้ผู้ป่วยง่ายและชัดเจนขึ้นและมีแนวทางเดียวกัน จึงควรนำเครื่องมือและรูปแบบการบำบัดที่พัฒนาขึ้นไปใช้ต่อไป
คำสำคัญ : พัฒนาเสริมสร้างความรู้, รูปแบบการเสริมสร้างความรู้, พัฒนารูปแบบร่วมกับเมทริกซ์โปรแกรม
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มงานโรคไม่ติดต่อ งานสุภาพจิตและยาเสพติด. ข้อมูลรายงานผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดเขตสุขภาพที่ 3 ปี2559-2560. นครสวรรค์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์; 2560.
กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. คู่มือบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติด แบบผู้ป่วยนอก รูปแบบการบำบัดความคิดและพฤติกรรม : Matrix Program [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cuprint.chula.ac.th
Ling W, Rawson RA, Grella CE. Matrix institute on addictions treatment programs [internet]. 2014 [cited 2019 Mar 30]. Available from: http://www.uclaisap.org/publications/biennial%20report/2014/
matrix-institute-on-addictions.html
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด. การสำรวจความคิดเห็นในการบำบัดยาเสพติด ปี 2560. นครสวรรค์: โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์; 2560.
สวัสดิ์ อุ่นใจ, กิจวัฒ นาถวิล, ญาธษา พันวิไล, สุกัญญา กาญจนบัตร, มานพ คณะโต. การประเมินการใช้
เมทริกซ์โปรแกรมในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง
สาธารณสุข 7 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560;5(4):674-5.
โสภิต แกล้วกล้า, ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. การประเมินผลการบำบัดรักษาด้วยโปรแกรมจิตสังคมบำบัด (Matrix Program) ของคลินิกบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2251[เข้าถึงเมื่อ 3ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://dric.nrct.go.th/
index.php?/Search/SearchDetail/263274
เกษม ตั้งเกษมสำราญ. โปรแกรมจิตสังคมบำบัดผู้ป่วยนอกแบบประยุกต์ (รายงานผลการวิจัย)[อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์;2546 [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2561].เข้าถึงได้จาก: https://suicide.dmh.go.th/abstract/details.asp?id=296
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด [อินเทอร์เน็ต]. ลำพูน: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จากhttps://www.lamphunhealth.go.th/_ssj/webmanager/uploads/2018-03-29092221
โรงพยาบาลนาน้อย. การพัฒนารูปแบบการบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด[อินเทอร์เน็ต]. น่าน: โรงพยาบาลนาน้อย; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http:// www.nanoihospital.com/pdf/30M
/5Learns2552 Manul.pdf
เสริมสุข ราษฎร์ดุษฎี, ดุษณีย์ ชาญปรีชา, อภิรดี พฤกษาพนาชาติ, รุจิรา อาภาบุษยพันธ์. การตัดสินใจใช้ยาบ้าของผู้เสพติดชายวัยทำงาน[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 11 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pmnidat.
go.th/thai/index.php?option=com_content&task=view&id=1203&Itemid=106
กนิษฐา ไทยกล้า, สุภวัฒน์ บุญมา, อริสรา สิทธิ, ชูพงศ์ กันยะ, นัทกร สามปันสัก. สถานการณ์ปัญหายาเสพติด การแพร่ระบาดและผลกระทบในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ท่องเที่ยว : ศึกษากรณี เมืองเชียงใหม่ และเมืองลําพูน [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก:http://nctc.oncb.go.th/research_view.php?research id=505
ฐิตวันต์ หงส์กิตติยานนท์, อารยา ทิพย์วงศ์, ลักขณา ยอดกลกิจ, สายสมร เฉลยกิตติ. ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดของเยาวชน. เวชสารแพทย์ทหารบก 2562;72(1):33-40.
สุรชัย พัฒนาอุดมชัย, ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์, จุฬาภรณ์ โสตะ. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการใช้ยาเสพติดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น.วารสารสำนักงานควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560;24(1):25-35.
ปรีดา ทัศนประดิษฐ์. จริยธรรมในการวิจัยผู้เสพสารเสพติด.ใน: สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, อาภา ศิริวงศ์ ณ อยุธยา,บรรณาธิการ. ทศวรรษงานวิจัยด้านสารเสพติด วิธีวิจัยประยุกต์สู่บริบทประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์; 2556. หน้า 11-26.
ชาญชัย เอื้อชัยกุล. พืชกัญชา : ประโยชน์ โทษและข้อเสนอแนะการพัฒนาการกำกับดูแล[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม;2560 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2561].เข้าถึงได้จาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_de
tail&id=354
จุฬาพัฒน์ ช่างเกตุ. กฎหมายเกี่ยวกับการใช้กัญชา[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย สำนักกฎหมาย; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.parliament.go.th/
ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2247
กระทรวงยุติธรรม สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. กฎหมายเกี่ยวกับการใช้กัญชา
[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม
. เข้าถึงได้จาก: https://media.oncb.go.th/index.php/th/23-2018-02-20-07-04-07/2018-02-20-07-
-01/64-content5-21-5-61-1
ล่ำซำ ลักขณาภิชนชัช, สมพร สุวรรณมาโจ, ปราณี ภาณุภาส, วิมล ลักขณาภิชนชัช. ตำราการบำบัดผู้ป่วยเสพติดสารระเหย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.
ทิพาวรรณ บูรณสิน. บทความพิเศษเรื่องสาระเหย : กลิ่นเป็นพิษ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/psychiatrics/cap/doctorNote_Tipawan090855/article%20special070855.pdf
ธีรธร มโนธรรม. มารู้จักสารระเหยกันเถอะ[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กองควบคุมวัตถุเสพติด; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://db.oryor.
com/databank/data/printing//491218_Factsheet_มารู้จักสารละเหยกันเถอะ_792.pdf
Dowshen S. Inhalants [internet]. Florida: The Nemours Foundation; 2018 [cited 2019 Sep 20]. Available from: https://kidshealth.org/en/teens/inhalants.html
อัญชลี โตเอี่ยม, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์. ปัจจัยทำนายการ เสพแอมเฟตามีนของเยาวชนในชุมชนแออัด.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2559;9(2):88-103.
สายสุดา สุขแสง, รัชตา ธรรมเจริญ, เจตน์สฤษฎ์ สังขพันธ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสงขลา[อินเทอร์เน็ต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://rd.hu.ac.th/Download%20File/Full%
Text%20zResearch/580908.pdf
วรางคณา นพฤทธิ์. ปัจจัยและแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน[อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.20160908_13381154_protec_kid
โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี. การป้องกันการกลับไปเสพซ้ำของผู้ป่วยยาเสพติด (Relapse prevention)
[อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ป.). [เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://tph.go.th/th/news/sarak
naru_file/601127205600.pdf
ปิยวรรณ ทัศนาญชลี. กระบวนการไม่เสพยาบ้าซ้ำ: กรณีศึกษาผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 2554;1(3):36-48.
ศิริลักษณ์ ปัญญา. ปัจจัยเสี่ยงของการกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำของผู้รับการบำบัดยาเสพติดในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[อินเทอร์เน็ต]. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://mis.ratchathani.ac.th/file_re/
HVGOWM6Wed103104.pdf
อาภาศิริ สุวรรณานนท์. การศึกษารูปแบบการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต 2558;11(2):213-7.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 เขต3 และโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.