ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะไข้ชักซ้ำหลังจากไข้ชักครั้งแรกในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

ผู้แต่ง

  • คณิตา อิสระภักดีรัตน์

คำสำคัญ:

ชักจากไข้, ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง, เด็ก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์   : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะไข้ชักซ้ำหลังจากไข้ชักครั้งแรกในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

วิธีการศึกษา   : ศึกษาแบบรวบรวมย้อนหลัง (retrospective cohort study) ในผู้ป่วยเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้ชักครั้งแรกที่นอนรักษาในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2558 ถึง ธันวาคม พ.ศ.2560 จำนวน 255 คน รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในฐานข้อมูลของโรงพยาบาล  รายงานอัตราความชุกการชักซ้ำ ด้วยร้อยละ พร้อมด้วยช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (95% confidence interval: CI) โดยใช้สถิติการประมาณค่าอัตราการเกิดภาวะไข้ชักซ้ำ และหาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะไข้ชักซ้ำด้วยสถิติ Logistic regression กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P น้อยกว่า 0.05 

ผลการศึกษา   : ผู้ป่วยเด็กไข้ชักมีค่ามัธยฐานอายุ 18.1 เดือน (IQR 11.2-27.6 เดือน) เป็นเพศชาย ร้อยละ 58.8  เกิดภาวะไข้ชักซ้ำหลังจากไข้ชักครั้งแรก ร้อยละ 22.7 (95%CI 17.7-28.4)  โดยโรคคออักเสบเฉียบพลันเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดในการเกิดไข้ชักครั้งที่ 1 และ 2  พบว่าอายุที่ไข้ชักครั้งแรกน้อยกว่า 24 เดือน (OR, 2.47; 95%CI, 1.11-5.51; p=0.03) และชนิดของไข้ชักครั้งแรกแบบ complex (OR, 2.2; 95%CI, 1.12-4.64; p=0.02) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะไข้ชักซ้ำหลังจากไข้ชักครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเพศ อุณหภูมิร่างกายที่ไข้ชักครั้งแรก ระยะเวลาที่มีไข้ก่อนไข้ชักครั้งแรก ประวัติครอบครัวมีไข้ชัก และโรคลมชัก ไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะไข้ชักซ้ำ

สรุป            : ควรมีการเฝ้าระวัง ให้ความรู้และคำแนะนำผู้ปกครองของผู้ป่วยไข้ชักโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะไข้ชักซ้ำเพื่อให้การดูแลอย่างเหมาะสม ลดความวิตกกังวลของผู้ปกครองและภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้

คำสำคัญ       : ชักจากไข้ ความชุก ปัจจัยเสี่ยง เด็ก

เอกสารอ้างอิง

มัยธัช สามเสน. แนวทางการปฏิบัติในการดูแลเด็กที่มีอาการชักจากไข้ (Febrile seizure). ใน: กาญจนา อั๋นวงศ์, บรรณาธิการ. แนวทางการรักษาโรคลมชักสำหรับแพทย์ Clinical Practice Guidelines for epilepsy. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2559. หน้า 58-62.

Capovilla G, Mastrangelo M, Romeo A, Vigevano F. Recommendations for the management of “febrile seizures”: Ad Hoc Task Force of LICE Guidelines Commission. Epilepsia 2009;50 Suppl 1:2-6.

สุมิศรา อารีย์วัฒนานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดไข้ชักซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรคไข้ชักครั้งแรกของโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2559;13(3):119-228.

Maksikharin A, Prommalikit O. Recurrent rates and risk factors of febrile seizures in the subsequent illness following the first febrile seizures in Thai children. J Med Assoc Thai 2019;102:62-6.

Berg AT, Shinnar S, Hauser WA, Alemany M, Shapiro ED, Salomon ME, et al. A prospective study of recurrent febrile seizures. NEJM1992;327:1122-7.

Canpolat M, Per H, Gumus H, Elmali F, Kumandaş S. Investigating the prevalence of febrile convulsion in Kayseri, Turkey: an assessment of the risk factors for recurrence of febrile convulsion and for development of epilepsy. Seizure 2018;55:36-47.

Km R, Ranhotra A, Kanodia P, Ahmad S, Gupta V. Evaluation of febrile seizures in NGMC and assessment of risk factors for recurrences. JNGMC 2018;14:30-3.

Manika J, Rachmi E. A description of risk factors of recurrent febrile seizure on pediatric patients in Abdul Wahab Sjahranie Hospital in Samarinda. JIK 2020;8:17-20.

Steering Committee on Quality Improvement and Management, Subcommittee on Febrile Seizures American Academy of Pediatrics. Febrile seizures: clinical practice guideline for the long-term management of the child with simple febrile seizures. Pediatrics 2008 ;121(6):1281-6. doi: 10.1542/peds.2008-0939. PMID: 18519501.

Indriani A, Risan N, Nurhayati T. Five years study of recurrent febrile seizure risk factors. AMJ 2017;4(2):282-5.

Agrawal J, Poudel P, Shah GS, Yadav S, Chaudhary S, Kafle S. Recurrence risk of febrile seizures in children. J Nepal Health Res Counc 2016;14:192-6.

Kumar N, Midha T, Rao YK. Risk factors of recurrence of febrile seizures in children in a tertiary care hospital in Kanpur: a one year follow up study. Ann Indian Acad Neurol 2019;22:31-6.

Renda R, Yüksel D, Gürer YK. Evaluation of patients with febrile seizure: risk factors, recurrence, treatment and prognosis. Pediatr Emerg Care 2020;36:173-7.

Kliegman R. Nelson textbook of pediatric. 20th Ed. Philadephia: Elsevier; 2016.

Kantamalee W, Katanyuwong K, Louthrenoo O. Clinical characteristics of febrile seizures and risk factors of its recurrence in Chiang Mai University Hospital. Neurol Asia 2017;22(3):203-8.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-16

วิธีการอ้างอิง

อิสระภักดีรัตน์ คณิตา. 2022. “ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะไข้ชักซ้ำหลังจากไข้ชักครั้งแรกในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 19 (2). Nakhonsawan Thailand:156. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/11758.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)