การพัฒนาแอปพลิเคชันให้ข้อมูลเตรียมผ่าตัดเด็กแบบวันเดียวกลับเพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ปกครอง
คำสำคัญ:
วิจัยและพัฒนา, แอปพลิเคชัน, ผ่าตัดวันเดียวกลับบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันให้ข้อมูลผู้ปกครองเพื่อเตรียมผ่าตัดเด็กแบบวันเดียวกลับ และศึกษาผลลัพธ์ของการนำแอปพลิเคชันไปใช้ในการลดความวิตกกังวลของผู้ปกครอง ศึกษาระหว่างเดือน มกราคม 2565 ถึง มิถุนายน 2565 ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1.สำรวจสังเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ 2.การออกแบบพัฒนาแอปพลิเคชัน 3.การทดลองใช้แอปพลิเคชัน4.การนำไปใช้และการเผยแพร่แอปพลิเคชันกลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ปกครองที่นำเด็กมารับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับโดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในระหว่างการพัฒนาเป็นกลุ่มย่อยจำนวน 6 คน และระยะการนำไปใช้ในภาคสนามเป็นกลุ่มที่มีลักษณะเดียวกัน อีก 24 คนรวมเป็น 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ปกครอง 2) แบบประเมินระดับความวิตกกังวล 3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากใช้แอปพลิเคชัน 4) แบบสอบถามความคิดเห็นมีต่อแอปพลิเคชัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติทดสอบก่อนและหลังใช้แอปพลิเคชัน ส่วนที่ 2. แอปพลิเคชันให้ข้อมูลเตรียมผ่าตัดเด็กแบบวันเดียวกลับ
ผลการศึกษาแอปพลิเคชันให้ข้อมูลเตรียมผ่าตัดเด็กแบบวันเดียวกลับ (ODS_N) เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้ ความคิดเห็นต่อแอปพลิเคชันเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean= 4.1±0.5) ผลการนำแอปพลิเคชันไปใช้ลดความวิตกกังวลผู้ปกครองพบว่า ด้านความคิดกังวลในใจเกี่ยวกับการผ่าตัดและการดมยาสลบเด็กลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ <0.01 และความวิตกกังวลโดยรวมหลังการใช้แอปพลิเคชันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ <0.01 ความคิดเห็นต่อเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงภายหลังใช้แอปพลิเคชัน ODS_N ด้านความเข้าใจขั้นตอนการรับบริการผ่าตัดวันเดียวกลับจัดอยู่ในระดับมาก (Mean= 4.1±0.5) ด้านความคลายกังวลในการดูแลเด็กหลังผ่าตัดที่บ้าน จัดอยู่ในระดับมาก (Mean= 4.1±0.7)
สรุป : ผลการศึกษาการพัฒนาแอปพลิเคชัน (ODS_N) มีประสิทธิภาพสามารถใช้งาน และมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในการให้ข้อมูลผู้ปกครองเพื่อเตรียมเด็กผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ และช่วยลดความวิตกกังวลแก่ผู้ปกครอง
คำสำคัญ : วิจัยและพัฒนา, แอปพลิเคชัน, ผ่าตัดวันเดียวกลับ
เอกสารอ้างอิง
วรางคณา พุทธรักษ์. ผลการเตรียมความพร้อมแบบมีแบบแผนในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก แบบทั่วไปต่อความรู้สึกวิตกกังวลขณะเผชิญของผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีสังวรจังหวัด สุโขทัย. พยาบาลสาร 2564 ; 48(1) : 269-70.
เดือนเพ็ญ ห่อรัตนาเรือง. การดูแลผู้ป่วยเด็กที่รับการระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ. ใน ฐิติกัญญา ดวงรัตน์, ทวี รัตนชูเอก, ทวีชัย วิษณุโยธิน, วิบูลย์ ภัณฑบดีกรณ์, ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์, บรรณาธิการ. ความปลอดภัยของการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ. กรุงเทพมหานคร: เทพเพ็ญวา นิสย์ ; 2561. 91-100.
ชลทิชา ศรีภักดี, อาทิตย์ เสมอเชื้อ. การเตรียมผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนก่อนมารับ การระงับความรู้สึกทั่วตัวในการผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วน. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2561; 18(1): 118-120. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565] เข้าถึงจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tmj/article/ download/116958/89872
โสภิต สุวรรณเวลา, นฤมล ศิลวิศาล, วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, อนัญญา คูอาริยะกุล. ความวิตกกังวลและการ จัดการความวิตกกังวลของผู้ปกครองที่มีบุตรป่วยเข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรงพยาบาล ศูนย์ตรังวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2562; 11(1): 253-54. [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงจาก:https://he01.tcithaijo.org/index.php/unc/article/view/187902.
ตฏิลา จำปาวัลย์. ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ (State Anxiety). วารสารพุทธจิตวิทยา 2561; 3(1): 15-18. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565] เข้าถึงจาก https://so03.tci- thaijo.org/index.php /article/view/242981
ทวี รัตนชูเอก. เสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ.ใน ความปลอดภัยชอง การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ. กรุงเทพ: สำนักวิชาการแพทย์ ; 2560. ข.
Li L, Ma J, Ma D, and Zhou X. Smartphone Interventions Effect in Pediatric Subjects on the Day of Surgery: A Meta-Analysis Front Surg. Published online 2021;Dec16.https:// www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8716411/ doi: 10.3389/fsurg.2021.759958
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007; 39: 175-191. Download PDF
อภิญญา กุณฑลลักษมีและคณะ.การประเมินความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม The Amsterdam preoperative anxiety and information scale (APAIS) ฉบับภาษาไทยเพื่อประเมินระดับความวิตก กังวลก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยไทย.วารสารสมาคมจิตจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2552; 54(1): 83-92. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565]. เข้าถึงจาก https://suicide.dmh.go.th abstract/details.asp? id=5246
ศิรินันท์ ยิ้มโกศล, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ, เอกรัฐ บุญเชียง, วราภรณ์ บุญเชียง . การพัฒนาแอปพลิเคชัน บนสมาร์ทโฟนในการป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด.พยาบาลสาร 2563; 47(3): 8-9. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565]. เข้าถึงจาก https://he02.tcithaijo.org /index.php/cmunursing/article/download/245763/167047/
อภิวัฒน์ วงศ์กัณหา.การสร้างแอปพลิเคชันฟรีด้วย Kodular.YouTube 2563. [สืบค้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=1xXovIRt5yI&t=339s
Kodular, a free platform to let your ideas become Android apps. The company was founded in 2017 and based in Dover, Delaware.https://www.kodular.io/
อาจารย์เยาว์: สร้างแอปเพลิเคชันรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ด้วย Text-To-Speech. เพจAj-yao, Kodular เผยแพร่เมื่อ 2021. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565]. เข้าถึงจาก https://www.youtube.-com/watch?v=2mNQd6t-E0w
กรมการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี. แอพพลิเคชัน ”ดมยาพาเพลิน” โดยทีมวิสัญญี รพ.ราชวิถี เผยแพร่ เมื่อ 10 พฤษภาคม 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 เมษายายน 2565] https://www.rajavithi.go.th/rj/? p=17425
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.