การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะเยื่อบุผนังช่องท้องอักเสบจากเชื้อราจากการล้างไตทางหน้าท้องในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ ลักษณานันท์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

ภาวะเยื่อบุผนังช่องท้องอักเสบจากเชื้อราจากการล้างไตทางหน้าท้อง, การเสียชีวิต, การถอดสายฟอกไตทางหน้าท้อง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการติดเชื้อรา

วิธีการศึกษา: การศึกษาภาคตัดขวางแบบย้อนหลัง (Retrospective cross-sectional study) ของผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องที่ได้รับการวินิจว่ามีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากเชื้อรา มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ได้เข้ารับการรักษาตัวในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2550 ถึง 31 ธันวาคม 2565 โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเก็บข้อมูลทั่วไป อาการของภาวะผนังเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาที่ได้รับ และ ผลการรักษา

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องที่มีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากเชื้อราจำนวนทั้งหมด 44 ราย จากผู้ป่วยมีภาวะ เยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการติดเชื้อทั้งหมด 1,082 ราย คิดเป็น ร้อยละ 4.1 มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.3 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่รอดชีวิตและกลุ่มที่เสียชีวิตพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่รอดชีวิตมีสัดส่วนผู้ป่วยที่มีระดับอัลบูมินในเลือดน้อยกว่า 3 กรัม/เดซิลิตร น้อยกว่ากลุ่มที่เสียชีวิตคือ ร้อยละ 60 เทียบกับร้อยละ 100 ตามลำดับ (p-value= 0.02) และกลุ่มที่รอดชีวิตมีอัตราการถอดสายล้างไตทางหน้าท้องมากกว่า คือ ร้อยละ 100 เทียบกับกลุ่มที่เสียชีวิตคือ ร้อยละ 66.7 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.01) และนอกจากนี้ป่วยที่รอดชีวิตมีแนวโน้มที่จะตรวจพบความดันโลหิตต่ำลงน้อยกว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิต คือ ร้อยละ 3.2 และ 25 ตามลำดับ (p-value = 0.06) และเมื่อติดตามผลการรักษาพบว่าค่ามัธยฐานของระยะเวลามีชีวิตรอดของผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้รับการถอดสายล้างไตทางหน้าท้องอยู่ที่ 12.0 วัน ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการถอดสายล้างไตทางหน้าท้องคือ มากกว่า 4,169.4 วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.01)

สรุป: ภาวะเยื่อบุผนังช่องท้องอักเสบจากเชื้อราจากการล้างไตทางหน้าท้องเป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อย แต่มีความรุนแรงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยคือ ระดับอัลบูมินในเลือดที่น้อยกว่า 3 กรัม/เดซิลิตร และการไม่ได้รับการถอดสายล้างไตทางหน้าท้อง

คำสำคัญ: ภาวะเยื่อบุผนังช่องท้องอักเสบจากเชื้อราจากการล้างไตทางหน้าท้อง, การเสียชีวิต, การถอดสายฟอกไตทางหน้าท้อง

เอกสารอ้างอิง

Prasad N, Gupta A. Fungal peritonitis in peritoneal dialysis patients. Perit Dial Int. 2005;25(3):207–22.

Prasad KN, Prasad N, Gupta A, Sharma RK, Verma AK, Ayyagari A. Fungal peritonitis in patients on continuous ambulatory peritoneal dialysis: a single centre Indian experience. J Infect. 2004 Jan;48(1):96–101.

Ram R, Swarnalatha G, Neela P, Dakshina Murty KV. Fungal Peritonitis in Patients on Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis: A Single-Centre Experience in India. Nephron Clin Pract. 2008 Oct 31;110(4):c207–12.

Kumar KV, Mallikarjuna HM, Gokulnath, Jayanthi S. Fungal peritonitis in continuous ambulatory peritoneal dialysis: The impact of antifungal prophylaxis on patient and technique outcomes. Indian J Nephrol. 2014;24(5):297–301.

Lo SHK, Chan C kit, Shum H ping, Chow VCC, Mo K leung, Wong K shing. Risk factors for poor outcome of fungal peritonitis in Chinese patients on continuous ambulatory peritoneal dialysis. Perit Dial Int. 2003 Dec;23 Suppl 2:S123-126.

Li R, Zhang D, He J, Ou J, Zhang L, Hu X, et al. Characteristics Analysis, Clinical Outcome and Risk Factors for Fungal Peritonitis in Peritoneal Dialysis Patients : A 10-Year Case-Control Study. Front Med. 2021 Dec 1;8:774946.

Wang AY, Yu AW, Li PK, Lam PK, Leung CB, Lai KN, et al. Factors predicting outcome of fungal peritonitis in peritoneal dialysis: analysis of a 9-year experience of fungal peritonitis in a single center. Am J Kidney Dis. 2000 Dec;36(6):1183–92.

Cheng IK, Fang GX, Chan TM, Chan PC, Chan MK. Fungal peritonitis complicating peritoneal dialysis: report of 27 cases and review of treatment. Q J Med. 1989 May;71(265):407–16.

Rubin J, Kirchner K, Walsh D, Green M, Bower J. Fungal peritonitis during continuous ambulatory peritoneal dialysis: a report of 17 cases. Am J Kidney Dis. 1987 Nov;10(5):361–8.

Goldie SJ, Kiernan-Tridle L, Torres C, Gorban-Brennan N, Dunne D, Kliger AS, et al. Fungal peritonitis in a large chronic peritoneal dialysis population: a report of 55 episodes. Am J Kidney Dis. 1996 Jul;28(1):86–91.

Nadeau-Fredette AC, Bargman JM. Characteristics and Outcomes of Fungal Peritonitis in a Modern North American Cohort. Perit Dial Int. 2015 Jan;35(1):78–84.

Hu S, Tong R, Bo Y, Ming P, Yang H. Fungal peritonitis in peritoneal dialysis: 5-year review from a North China center. Infection. 2019 Feb;47(1):35–43.

Miles R, Hawley CM, McDonald SP, Brown FG, Rosman JB, Wiggins KJ, et al. Predictors and outcomes of fungal peritonitis in peritoneal dialysis patients. Kidney International. 2009 Sep 2;76(6):622–8.

Unal A, Kocyigit I, Sipahioglu MH, Tokgoz B, Oymak O, Utas C. Fungal peritonitis in peritoneal dialysis: an analysis of 21 cases. Int Urol Nephrol. 2011 Mar;43 (1):211–3.

Oygar DD, Altiparmak MR, Murtezaoglu A, Yalin AS, Ataman R, Serdengecti K. Fungal Peritonitis in Peritoneal Dialysis: Risk Factors and Prognosis. Renal Failure. 2009 Jan 1;31(1):25–8.

Basturk T, Koc Y, Unsal A, Ahbap E, Sakaci T, Yildiz I, et al. Fungal peritonitis in peritoneal dialysis: a 10 year retrospective analysis in a single center. Eur Rev Med Pharmacol Sci. 2012 Nov;16(12):1696–700.

Michel C, Courdavault L, Khayat RA, Viron B, Roux P, Mignon F. Fungal Peritonitis in Patients on Peritoneal Dialysis. American Journal of Nephrology. 2008 Oct 28;14(2):113–20.

Li PKT, Chow KM, Cho Y, Fan S, Figueiredo AE, Harris T, et al. ISPD peritonitis guideline recommendations: 2022 update on prevention and treatment. Perit Dial Int. 2022 Mar;42(2):110–53.

Chang TI, Kim HW, Park JT, Lee DH, Lee JH, Yoo TH, et al. Early Catheter Removal Improves Patient Survival in Peritoneal Dialysis Patients with Fungal Peritonitis: Results of Ninety-Four Episodes of Fungal Peritonitis at a Single Center. Perit Dial Int. 2011 Jan;31 (1):60–6.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19

วิธีการอ้างอิง

ลักษณานันท์ ธิดารัตน์. 2023. “การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะเยื่อบุผนังช่องท้องอักเสบจากเชื้อราจากการล้างไตทางหน้าท้องในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 21 (1). Nakhonsawan Thailand:1-7. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/14351.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)