รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง: การทบทวนอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • รัตติยากร ถือวัน กรมการแพทย์
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

วิธีการศึกษา: การทบทวนอย่างเป็นระบบ โดยคัดเลือกจากการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ที่เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2561-2566 จาก Google Scholar, Thailis และ PubMed ใช้หลัก PICO ในการสืบค้นคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยภาษาไทยใช้คำหลัก คือ P: ผู้สูงอายุ, I: รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, C: เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม, O: การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยครอบครัว และภาษาอังกฤษ ใช้คำหลัก คือ P: Elderly Hypertension I: Model of Elderly Hypertension, C: Comparison of the averaged perception between control- and intervention group. , O: Health promotion program with family’s participation

ผลการศึกษา: การสืบค้นพบงานวิจัยจำนวน 14 เรื่องที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและการประเมินคุณภาพงานวิจัยของเฮลเลอร์ โดยเป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experiment Research) จำนวน 14 เรื่องศึกษาในกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (The Two Group Pretest-Posttest Design) จำนวน 13 เรื่อง และไม่ระบุ จำนวน 1 เรื่อง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็น ผู้สูงอายุ จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ 1) การค้นหาปัญหาและตั้งเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2) การส่งเสริมการรับรู้ เรื่องโรคความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน 3) การพัฒนาทักษะการจัดการตนเอง เช่น ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกำลังกาย และ ด้านการงดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้านการจัดการความเครียด 4) การรักษาผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงด้วยการฝังเข็ม การใช้ยาขับปัสสาวะร่วมกับยารักษาความดันโลหิตสูง 5) การเสริมสร้างแรงสนับสนุนทางสังคมโดยสมาชิกในครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข ติดตามตามวัดความดันโลหิต เยี่ยมบ้าน และโทรศัพท์กระตุ้นเตือน

สรุป: รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรอบรู้ เข้าใจ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งผลให้สามารถควบคุมและลดระดับความดันโลหิต ซึ่งนำไปสู่การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ, โรคความดันโลหิตสูง

เอกสารอ้างอิง

ชิณกรณ์ แดนกาไสย,ศุภวรรน ยอดโปร่ง, กนิษฐา แก้วดู. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูงวัยผู้สูงอายุตอนต้น. Thai Red Cross Nursing Journal.2022; 15(2), 205-218.

จุฬาลักษณ์ จันทร์หอม, & ลภัสรดา หนุ่มคำ. ปัจจัยที่มีผลต่อกิจกรรมทางกายของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความ ดันโลหิตสูงในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. Thai Science and Technology Journal.2020; 546-560.

ธนาพร ปะตาทะโย,วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, มุกดา หนุ่ยศร. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรม สุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์. Thai Journal of Nursing. 2020; 69(3), 1-10.

สายฝน สุภาศรี,จักรกฤษณ์ วังราษฎร์,วราภรณ์ บุญเชียง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อการรับรู้ความสามารถตนเองและความคาดหวังผลลัพธ์ต่อ การดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดัน โลหิตสูง จังหวัดเชียงราย. Thai Journal of Public Health.2021; 51(1), 33-42.

พนิตนันท์ พรหมดำ นิตยา สุขชัยสงค์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมรับประทานยาในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กรุงเทพมหานคร. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing. 2021; 32(2), 131-145.

ชิณกรณ์ แดนกาไสย ศุภวรรน ยอดโปร่ง กนิษฐา แก้วดู. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อ พฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยผู้สูงอายุตอนต้น. Thai Red Cross Nursing Journal. 2022 Dec 22;15(2):205-18.

กมลชนก เจริญวงษา,วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ. ผลของโปรแกรม ส่งเสริมความร่วมมือการรับประทานยาโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. Nursing Journal. 2022; 49(2), 313-325.

อุบลรัตน์ มังสระคู, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, มุกดา หนุ่ยศรี. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. Thai Journal of Nursing. 2019; 68(3), 1-10.

สายฝน อินศรีชื่น, โชคชัย พนมขวัญ, ดวงพร ภาคาหาญ, อดุลย์ วุฒิจูรีพันธรัตน์,ชรีญาภรณ์ ฤทธิศาสตร์. ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต่อการควบคุมความดันโลหิตสูงในจังหวัดแพร่. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus.2021; 8(2), 102-116.

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย, & กาญจนาสุขบัว. โปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพของ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมจรอุบล ปริทรรศน์. 2022; 7(2), 1689-1698.

ธนาพร ปะตาทะโย,วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, มุกดา หนุ่ยศรี. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์. Thai Journal of Nursing. 2020 Aug 26;69(3):1-0.

ลภัสรดา ศิริดำรงค์ชัย, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริม ศักดิ์, & กรวรรณ ยอดไม้. โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง โดยการ มีส่วนร่วมของครอบครัว. Thai Journal of Public Health.2018; 48(2), 161-173.

อภิชญา ก้งซ่า,เพลินพิศ บุณยมาลิก, พัชราพร เกิดมงคล . ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการควบคุม ความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารเกื้อการุณย์.2020; 27 (2),90-102.

Yang, S. O., Kim, S. J., & Lee, S. H. Effects of a South Korean Community-Based Cardiovascular Disease Prevention Program for Low-Income Elderly with Hypertension. Journal of community health nursing.2016; 3(3), 154–167. https://doi.org/10.1080/07370016.2016.1191872

Beard, K., Bulpitt, C., Mascie-Taylor, H., O’Malley, K., Sever, P., & Webb, S. Management of elderly patients with sustained hypertension. British Medical Journal. 1992; 304(6824), 412-416.

Pawluk, H., Pawluk, R., Robaczewska, J., Kdziora -Kornatowska, K., & Kdziora, J. Biomarkers of antioxidant status and lipid peroxidation in elderly patients with hypertension. Redox Report. 2017; 22(6), 542-546. doi:10.1080/13510002.2017.1372072

Huang, K. Y., Huang, C. J., & Hsu, C. H. Efficacy of acupuncture in the treatment of elderly patients with hypertension in home health care: a randomized controlled trial. The Journal of Alternative and Complementary Medicine. 2020; 26(4), 273-281.

สุมาลี อำนวย. รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลแจนแลน อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัด กาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2023 Mar 31;8(1) :576-81.

ลำไพ สุวรรณสาร, อรุณรัตน์ สู่หนองบัว. ผู้สูงอายุสุขภาพดี: ในมุมมองความสุข 5 มิติ. Journal of Nurse and Public Health, Chaiyaphum. 2022; 1(1):28-34.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-05-07

วิธีการอ้างอิง

ถือวัน รัตติยากร, และ บัญชรหัตถกิจ พรรณี. 2024. “รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง: การทบทวนอย่างเป็นระบบ”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 21 (2). Nakhonsawan Thailand:127-37. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/14787.

ฉบับ

บท

การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)