ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธผู้เชี่ยวชาญ ในการทำความเข้าใจปัญหาของผู้มารับบริการ

ผู้แต่ง

  • จักรา วีรกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การทำความเข้าใจปัญหา, นักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ, การวิจัยเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธผู้เชี่ยวชาญในการทำ ความเข้าใจปัญหาของผู้มารับบริการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis: IPA) ผู้ให้ข้อมูลหลัก 6 รายเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาที่เชี่ยวชาญในการใช้หลักการของพุทธศาสนาในการให้คำปรึกษา เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น ได้แก่ (1) การเอื้อให้ตระหนักถึงปัญหา การพูดคุย รับฟัง และทบทวนเรื่องราวช่วยให้ผู้รับบริการมีความตระหนักรู้ถึงความทุกข์และสามารถมองเห็นปัญหาที่เชื่อมโยงกัน (2) การเอื้อให้ตระหนักถึงรากของปัญหา การทำความเข้าใจทิฐิและความเชื่อที่ยึดติด ช่วยให้เกิดความเข้าใจชัดเจนและสามารถหาทางออกได้ด้วยตนเอง (3) การใช้หลักพุทธธรรมเป็นพื้นฐานในการทำงาน ช่วยให้ผู้รับบริการเข้าใจถึงธรรมชาติของความเชื่อมโยงและการพึ่งพาอาศัยกันของสิ่งต่างๆ ทำให้เกิดความเข้าใจและยอมรับปัญหาตามความเป็นจริง และนำไปสู่การคลี่คลายความทุกข์ทางจิตใจ

คำสำคัญ: การทำความเข้าใจปัญหา, นักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ, การวิจัยเชิงคุณภาพ

เอกสารอ้างอิง

ดลดาว ปูรณานนท์. ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธแบบกลุ่มต่อการเพิ่มพูน สันติภาวะโดยมีเมตตาเป็นตัวแปรสื่อ [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

ธารีวรรณ เทียมเมฆ. ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธที่มีต่อความสันโดษของนักศึกษามหาวิทยาลัย [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

ธีรวรรณ ธีระพงษ์. ผลของกลุ่มพัฒนาตนและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธเน้นศีลและปัญญาต่อสัมพันธภาพการปรึกษาเชิงจิตวิทยา และผลเนื่องต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ [วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2561.

เพริศพรรณ แดนศิลป์. ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มโยนิโสมนสิการที่มีต่อปัญญาในภาวะความสัมพันธ์เชื่อมโยงและภาวะความเปลี่ยนแปลง [วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

ยุวดี เมืองไทย. ผลของกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาแนวพุทธต่อสุขภาวะทางจิตของผู้ป่วยยาเสพติดที่อยู่ในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

สุภาพร ประดับสมุทร. การเกิดปัญญาในกระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

โสรีช์ โพธิแก้ว. การสังเคราะห์หลักอริยสัจ 4 สู่กระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยา/จิตรักษา เพื่อการพัฒนา รักษา และเยียวยาชีวิตจิตใจ: แนวคิด แนวทาง ประสบการณ์ และงานวิจัย [เอกสารประกอบการเรียนการสอน]; 2553.

Hill C, O’Brien K. Helping skills: Facilitating exploration, insight, and action. Washington, DC: American Psychological Association; 2014.

Smith J, Flowers P, Larkin M. Interpretative phenomenological analysis: theory, method and research. London: Sage Publication; 2009.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

วิธีการอ้างอิง

วีรกุล จักรา, และ ตุ้ยคำภีร์ อรัญญา. 2024. “ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธผู้เชี่ยวชาญ ในการทำความเข้าใจปัญหาของผู้มารับบริการ”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 21 (3). Nakhonsawan Thailand:222-28. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15324.

ฉบับ

บท

รายงานผู้ป่วย (Case Report)