การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดจากภาวะปอดอักเสบ
คำสำคัญ:
โรคปอดอักเสบ, การพยาบาล, ติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคปอดอักเสบ (pneumonia) พบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ถ้าอาการรุนแรงหรือไม่ได้รักษาทันท่วงทีสามารถเพิ่มระดับความรุนแรงส่งผลให้ เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว พยาบาลจะต้องมีความรู้ความเข้าใจพยาธิสภาพของโรค แนวทางการรักษาเป็นอย่างดี นำกระบวนการพยาบาลมาใช้ใน การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวให้ครอบคลุม ในแต่ละระยะของการดำเนินของโรค จะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในแสเลือดจากภาวะปอดอักเสบ กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย
วิธีดำเนินงาน: เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 2 รายเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระนอง ช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ประเมินปัญหาทางการพยาบาลด้วยแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ให้การพยาบาลและประเมินผลลัพธ์การพยาบาล 3 ระยะ ระยะแรกรับ ระยะระหว่างการดูแล และระยะจำหน่าย
ผลลัพธ์: ผู้ป่วยรายที่1ผู้ป่วยเป็นเพศชาย อายุ 82 ปี มีประวัติเป็น ความดันโลหิตสูง ถุงลมโป่งพอง ต่อมลูกหมากโตหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง เบาหวาน มีประวัติสูบบุหรี่ มาด้วย 3 วัน ไอมีเสมหะสีขาว ไข้ 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลหายใจหอบเหนื่อย พ่นยา3ครั้งไม่ดีขึ้น แพทย์ให้การรักษาจากการตรวจร่างกาย ฟังเสียงหายใจพบเสียงหวีดแห้งๆ ในหลอดลม วางแผนการรักษาโดยให้ผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม ได้รับยาปฏิชีวนะ ยาขับปัสสาวะ ใช้ยาพ่นขยายหลอดลมทุก4 ชั่วโมง จนอาการดีขึ้น ให้การฟื้นฟูสภาพและจำหน่ายกลับบ้าน รวมระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล 8 วัน ผู้ป่วยรายที่ 2 เพศหญิง อายุ 92 ปี มีโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อัลไซเมอร์ เส้นเลือดสมองตีบ ปัจจุบันเป็นผู้ป่วยติดเตียง มาด้วย 7 วันไข้อ่อนเพลียวันนี้ หายใจเหนื่อยญาติ นำส่งโรงพยาบาล ผู้ป่วยได้รับการให้ออกซิเจนชนิดแรงดันบวก แพทย์ให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ จนผู้ป่วยมีอาการคงที่พ้นภาวะวิกฤติ ให้การฟื้นฟูสภาพและจำหน่ายกลับบ้าน รวมเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล 12 วัน
สรุป : ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระเลือดจากภาวะปอดอักเสบ จากการที่ พยาบาลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด นำกระบวนการพยาบาลมาใช้ดูแลผู้ป่วย และครอบครัวแบบองค์รวม ร่วมกับสหวิชาชีพ จะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยพ้นภาวะวิกฤต ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ลดอัตรา การเสียชีวิต
เอกสารอ้างอิง
กรมการแพทย์. (2562). โรคปอดอักเสบ (Pneumonia). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/01/8.-one-page-pneumonia-edit-8-
-61.pdf.วันที่สืบค้น 2 สิงหาคม 2563.
จริยา พันธุ์วิทยากุลจิราพร มณีพราย.(2561) การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. ว. กองการพยาบาล.
ทิฎฐิศรีวิสัยวิมล อ่อนเส็ง.(2560)ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ:ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์.
ปราณี ทู้ไพเราะ (2556).การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจนจากความผิดปกติในการแลกเปลี่ยนและขนส่งออกซิเจน.,บรรณาธิการ.
เพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนา และ พรรณิภา สืบสุข.(2555) การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ. ,บรรณาธิการ.การพยาบาลอายุรศาสตร์ 2.เวชสถิติ รพ. ระนอง.(2565).ข้อมูลผู้ป่วยปอดอักเสบ .โรงพยาบาลระนอง
วิศิษฎ์ อุดมพาณิชย์. (2550). โรคปอดอักเสบ ใน วิทยา ศรีมาดา (บรรณาธิการ). ตําราอายุรศาสตร์ 1 (หน้า 341-344;พิมพ์ครั้งที่ 5 ปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข.(2560) KPI3 อัตราตายผู้ป่วยปอดอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือด แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง. (2562). การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://rng.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd
eed7d1cfe0155e11. วันที่สืบค้น 2 สิงหาคม 2563.สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย.(2558).แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอักเสบในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2558).กรุงเทพฯ: กราฟฟิกดีไซน์.
อภิชาต คณิตทรัพย์ ใน ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลางและคณะ(2561).ปอดอักเสบในผู้สูงอายุ. อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
อัมพรพรรณ ธีรานุตร. (2542). โรคปอดอักเสบ: การดูแลตนเองและการฟื้นฟูสมรรถภาพ.ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์อ๊อฟเซ็ท.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.