อุบัติการณ์การตรวจพบโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะจากภาพถ่ายทางรังสีวิทยา ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ, นิ่วในไต, นิ่วในท่อไต, นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ, นิ่วในท่อปัสสาวะบทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่พบได้โดยทั่วไปและมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิด โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น สภาพแวดล้อม อาหาร และพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วยและญาติ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การตรวจพบโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะจากภาพถ่ายทางรังสีวิทยา
รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง วิจัยเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: ศึกษาภาพถ่ายทางรังสีวิทยาระบบทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2559 จำนวน 5,484 ราย โดยการเก็บข้อมูล อายุ เพศ ภูมิลำเนา โรคประจำตัว อาการและอาการแสดง และตำแหน่งของนิ่ว ประกอบด้วย นิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และนิ่วในท่อปัสสาวะ
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะจำนวน 1,146 ราย โดยมีเพศชาย ร้อยละ 67.28 และเพศหญิง ร้อยละ 32.72 อัตราส่วน 2.1 : 1 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 51 – 60 ปี มีภูมิลำเนาที่ตำบลบ้านแก้งมากที่สุด โรคประจำตัวและ อาการสำคัญที่พบคือ โรคความดันโลหิตสูงและ ปวดเอว ตามลำดับ พบนิ่วในไต ร้อยละ 70.42 นิ่วในท่อไต ร้อยละ 22.60 และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ร้อยละ 6.98 ส่วนนิ่วในท่อปัสสาวะไม่พบข้อมูล
สรุป: จากการศึกษาภาพถ่ายทางรังสีวิทยาระบบทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ พบอุบัติการณ์การตรวจพบโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 20.90 และพบนิ่วในไตมากที่สุด
เอกสารอ้างอิง
วรพจน์ ชุณหคล้าย, อภิรักษ์ สันติงามกุล, บรรณาธิการ. Common urologic problems for medical student. นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ. กรุงเทพฯ : สมาคมแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมชูปถัมภ์, 2559:82-95.
พัชรินทร์ ชนะพาห์. ปัจจัยเสี่ยงของโรคนิ่วในไต: ประเด็นของสารแคลเซียม และออกซาเลต. สงขลานครินทร์เวชสาร, 2554;29(6):299-308.
ทวี ศิริวงษ์, พจน์ ศรีบุญลือ, มณีวรรณ จันทร์โพธิ์ศรี, อรนุช วุตติวิโรจน์, และประภาพร ตั้งธนพานิช, บรรณาธิการ. รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติงานเรื่องโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ. โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซท, 2528. 77-85.
ชัชรินทร์ ปิ่นสุวรรณ, สมอาจ ตั้งเจริญ,และรัตนา ธาตุอาภรณ์. โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2544;16(3):181-6.
Yanagawa M, Kawamura J, Onishi T, Soga N, Kameda K, Sriboonlue P, et al. Incidence of urolithiasis in northeast Thailand. Int J Urol, 1997;4(6):537-40.
มณฑิรา มฤคทัต, อดิศร อภิวัฒน์การุญ, ชูศักดิ์ ปริพัฒนานนท์. นิ่วทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 2545;20(4):251-9.
Dunnick NR, Sandler CM, Newhouse JH, Amis ES. Textbook of uroradiology. 4th ed. Philadelphia : Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins, 2008:246-63.
Sutton, David, Robinson, Philip J. A, edited. Textbook of radiology and imaging. The kidneys and ureters. 7th ed. Edinburgh : Churchill Livingstone, 2003:929-87.
ดรุณี บุ้งทอง, ทัศนีย์ กลิ่นหอม, นิตยา เทศคำจร, วัฒนชัย อึ้งเจริญวัฒนา, และปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์. การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยโรคนิ่วไตเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วซ้ำ. วารสารยูโร, 2556;34(2):41-50.
ฐานพัฒน์ ดิฐสถาพรเจริญ, อมร เปรมกมล, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์, และสุนทร สุวรรณไตรย์. ชนิดของนิ่วไตที่หลุดออกมาเองในชุมชนชนบทจังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2557;29(1):50-5.
Losito A, Nunzi EG, Covarelli C, Nunzi E, Ferrara G. Increased acid excretion in kidney stone formers with essential hypertension. Nephrol Dial Transplant, 2009;24(1):137-41.
ฉัตรชัย งานไว, อมร เปรมกมล, โรจนกาล พานดวงแก้ว, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์, ฐานพัฒน์ ดิฐสถาพรเจริญ, อาคม บุญเลิศ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับผู้ที่มีภาวะกรวยไตอักเสบเรื้อรังในผู้ป่วยผู้ป่วยความดันโลหิตสูง กรณีศึกษาที่โรงพยาบาลภูเขียว จ.ชัยภูมิ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2559;31(6):399-408.
Nerli R, Jali M, Guntaka AK, Patne P, Patil S, Hiremath MB. Type 2 diabetes mellitus and renal stones. Adv Biomed Res, 2015;4: 180.
โรจนกาล พานดวงแก้ว, อมร เปรมกมล, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ , อิสราภรณ์ เทพวงศา , ฉัตรชัย งานไว, อภิสรา ธำรงวรางกูร. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะกรวยไตอักเสบเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวาน ในโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2559;31 (1):59-69.
ธัญญรัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ. ความรู้เรื่องโรคไตสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: บริษัท เฮลธ์ เวิร์ค จำกัด, 2556.
Cupisti A. Update on nephrolithiasis: beyond symptomatic urinary tract obstruction. J Nephrol, 2011;24(S18):S25-9.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-08-31 (2)
- 2019-07-30 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.