This is an outdated version published on 2021-08-02. Read the most recent version.

ผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิ ปี 2563

The Outcome of Diabetic Patients care During the Prevention of Covid-19 Pandemic Situation at Mueang Chaiyaphum Primary Care Unit, 2020.

Authors

  • ปราณี ชัยหลาก Chaiyaphum Hospital, Chaiyaphum Province
  • อรุณรัตน์ สู่หนองบัว

Abstract

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2563 ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิ ได้มีโครงการส่งยาถึงบ้านในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางส่วนตามความสมัครใจ  เพื่อลดความแออัดและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามนโยบาย “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” โดยเริ่มมีการส่งยาทางไปรษณีย์ตั้งแต่ 31 มีนาคม 2563 ซึ่งในปี 2563 มีการส่งยาถึงบ้านทางไปรษณีย์ให้ผู้ป่วยตามวันนัดหมาย รายละ 1-2 ครั้ง ซึ่งไม่ต้องมาพบแพทย์ประมาณ 3-6 เดือน 

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ที่ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิ ปี 2563 และเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานระหว่างกลุ่มที่มารักษาต่อเนื่องที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิและกลุ่มที่ส่งยาถึงบ้าน

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ โดยเก็บข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c, FBS) และระดับไขมันในเลือด(LDL) จากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (HOSxP) ของโรงพยาบาลชัยภูมิ เปรียบเทียบระหว่างปี 2562 และปี 2563 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาต่อเนื่องที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิและกลุ่มที่สมัครใจให้ส่งยาถึงบ้านทางไปรษณีย์ ในปี 2563 กลุ่มละ 192 ราย รวมเป็น 384 ราย โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย HbA1C, FBS, LDL, BMI ปี 2562 และปี 2563 ด้วย Pair t-test และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยสถิติ Independent  t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.9) อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 57.3 อายุเฉลี่ย 61.7 ± 10.2 ปี ผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2562 พบว่า HbA1c<7% ร้อยละ30.7, FBS <130 mg% ร้อยละ 20.6, LDL<100 mg% ร้อยละ 58.0 และปี 2563 พบว่า HbA1c<7% ร้อยละ 32.0, FBS <130 mg% ร้อยละ 23.4, LDL <100 mg% ร้อยละ 45.3

การเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2562 และ 2563 พบว่า ค่าเฉลี่ยของ HbA1c=7.96 ± 1.59 และ7.92 ± 1.58, FBS =167.2± 51.6 และ163.8± 48.1, LDL=97.0± 33.4 และ105.2±31.8 (p-value=.590, .184 และ <0.001) ส่วน BMI =26.2±4.5 และ 26.1± 4.6 (p-value=.397)

การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มารักษาต่อเนื่องที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองและกลุ่มที่ส่งยาถึงบ้าน ในสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ปี 2563 ค่าเฉลี่ยของ HbA1c=7.83±1.70 และ 8.11±1.58, FBS= 163.9±52.2 และ 163.6±43.6, LDL=108.4±32.1 และ 101.8±31.3  (p-value=.286, 948 และ.045)

สรุป : ผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิ ปี 2563 ทั้งกลุ่มที่มาพบแพทย์ต่อเนื่องและกลุ่มที่ส่งยาถึงบ้าน มีผลการรักษาไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการส่งยาถึงบ้านจึงเป็นทางเลือกในการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เหมาะสมในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

คำสำคัญ : เบาหวาน, ส่งยาถึงบ้าน ,โควิด-19

 

Home drug delivery was the project of chronic disease service among the pandemic situation of coronavirus disease 2019 (Covid-19) to reduce overcrowding of patients and prevention of COVID-19, according policy “Stay at home stop germs for the nation” for voluntary DM patients at Mueang Chaiyaphum Primary Care Unit, start drug delivery from 1st March 2020, DM patients received home drug 1-2 appointment (3-6 months).

Objective : To study the outcome of diabetic patients care during the prevention of Covid-19 pandemic situation at Mueang Chaiyaphum primary care Unit and compared the outcome among DM patients whom continuously doctor visit group and home drug delivery group in 2020.

Methods : This analytical study was to record data about HbA1c, FBS, LDL of annual laboratory examination from HOSxP program database of Chaiyaphum hospital in 2019 and 2020. The sample sizes were 384 DM patients whom continuously doctor visit group (192 cases) and home drug delivery group (192 cases) who had lab examination in 2019 and 2020 by purposive sampling. Data analyzed by descriptive statistical and analytical statistics by paired t-test and independent t-test at p-value<0.05.

Results : 66.9 % were females, means of age were 61.7 ± 10.2 years, 57.3% were more than 60 years old. In 2019 and 2020; means of HbA1C were 7.96 ± 1.59 and 7.92 ± 1.58, FBS 167.2± 51.6 and 163.8± 48.1 respectively, which not significant difference (p-value.590, .184), LDL were 97.0± 33.4 and 105.2±31.8 which significant difference (p-value<0.001) and BMI were 26.2±4.5 and 26.1± 4.6 which not significant difference (p-value=.397)

The outcome of DM control by compared means among DM patients whom continuously doctor visit group and  home drug delivery group, in 2020 showed that; means of HbA1C were 7.83±1.70 and 8.11±1.58, FBS 163.9±52.2 and 163.6±43.6 respectively,which not significant difference (p-value .286, .948), LDL were 108.4±32.1 and 101.8±31.3 which significant difference (p-value .045)

Conclusion : The outcome of diabetic patients care during the prevention of Covid-19 pandemic situation at Mueang Chaiyaphum primary care Unit in DM patients whom continuously doctor visit group and home drug delivery group, in 2020 were not difference. So; Home drug delivery was appropriate for alternative to service of chronic disease among COVID-19 situation.

 Keywords : Diabetes mellitus, Home drug delivery, COVID-19

Downloads

Published

2021-07-19 — Updated on 2021-08-02

Versions

Issue

Section

Original Article