This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

Medication use behavior of elderly patients with chronic diseases = พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง

Authors

  • Em-orn Sueysom

Abstract

ABSTRACT

              Background: As Thailand has been entering an aging society, while most of elder population have underlying chronic diseases such as hypertension, diabetic mellitus, and chronic kidney diseases, which create many problems of medication use among them. Therefore, the awareness of the medication use behavior of elderly patients is a significant particularly among the group of elders with chronic diseases who have been serviced.

              Objective: To survey the inappropriate medication use behavior of elderly patients with chronic diseases in Kaengkhro hospital.

              Methodology:      The study is a descriptive research conducted with the registered elders at Kaengkhro hospital during February 1st to March 31st, 2020. The total of sample is 60 patients by data analysis of descriptive statistics.

              Results: The findings collected from 60 elderly patients, 66.67% of female which all have the average age of 69.3 years old and the average of prescription medications is 4.8 per person. As the result, we found the behaviors as follows; self-medication is at 86.67%, having the acknowledge when expired medication appropriately disposed or returned to the hospital is at 53.33%, consulting with health personnel or re-checking the label when direction for use is unclear is at 76.67%, checking the label of medication is at 63.33%, the full dosage of prescription medication use is at 96.67% and medication use in timely manner is at 86.67%, Managing when abnormal symptoms occur due to medication is at 56.67%, having the acknowledge when drug degradation appropriately disposed or returned to the hospital is at 58.33% In addition, checking the expiry date of medication is at 30%, appropriate drug storage behavior is calculated at 26.67%.

              Conclusion: Medication use behavior of elderly patient with chronic diseases is individually varied across the patients. Primarily behavior such as full dosage of prescription medication use, medication use in timely manner and seeking help when medication’s label is unclear are well-established among most of the elderly patients whereas, some behaviors such as the unchecked expiry date of medication and unappropriate drug storage behavior is alarmingly among most of the elderly patient as well. Thereby, with the deeply understanding of those behaviors, we can create a concrete plan in management and find the solutions to correct the problematic behaviors.

Keywords:          Medication use behavior

 

บทคัดย่อ

              ความเป็นมา: เนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งผุ้สูงอายุส่วนมากมักมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง โรคเหล่านี้ทำให้ต้องใช้ยาในการักษาจำนวนมากและก่อให้เกิดปัญหาจากการใช้ยาตามมา ดังนั้นจึงมีความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังเนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรหลักที่มารับบริการในหน่วยบริการ

              วิธีวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยดำเนินการศึกษาในผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนใน

โรงพยาบาลแก้งคร้อและมารับบริการ ในช่วงตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลแก้งคร้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อายุมากกว่า 60 ปี จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 60 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบรวบรวมข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ผู้ดูแล โดยการเก็บข้อมูลทั่วไป และข้อมูลปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จากแบบสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า

              ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมโครงการ 60 คน เป็นเพศหญิง 66.67% อายุเฉลี่ยผู้ข้าร่วมโครงการ 69.3 ปี ใช้ยาเฉลี่ยจำนวน 4.8 ชนิดต่อราย ใช้ยาด้วยตนเอง ร้อยละ 86.67 โดยพบว่ามีพฤติกรรมดังนี้ มีการรับรู้ว่าเมื่อยาเสื่อมสภาพต้องนำไปทิ้งหรือส่งคืนโรงพยาบาล ร้อยละ 58.33  มีการสอบถามบุคลากรทางสาธารณสุขหรืออ่านฉลากซ้ำอีกรอบ เมื่อไม่ทราบวิธีการใช้ยา ร้อยละ 76.67 การรับรู้ว่าเมื่อยาหมดอายุต้องนำไปทิ้งหรือส่งคืนโรงพยาบาล ร้อยละ 53.33 มีการตรวจสอบวิธีการใช้ยา ร้อยละ 63.33 ใช้ยาครบตามที่แพทย์สั่ง ร้อยละ 96.67 ใช้ยาตรงตามเวลาที่กำหนด ร้อยละ 86.67 การปฏิบัติเมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาคือการไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ ร้อยละ 56.67 แต่มีการตรวจสอบวันหมดอายุ ร้อยละ 30 และด้านการเก็บรักษายามีความเหมาะสม ร้อยละ 26.67

              สรุปผลการศึกษา: พบว่าพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังมีความแตกต่างกันไปในแต่ละราย ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเหมาะสมในด้านความสม่ำเสมอในการใช้ยาครบ ใช้ยาตรงเวลาและการปฏิบัติตนเมื่อไม่ทราบวิธีการใช้ยา แต่ก็มีบางพฤติกรรมเช่น ไม่มีการตรวจสอบวันหมดอายุก่อนการใช้ยาและการเก็บรักษายาที่ไม่มีความเหมาะสมซึ่งอาจเกิดจากการรับรู้หรือไม่ได้คำแนะนำหรือไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนหรือเกิดจากปัญหาด้านร่างกายเช่นสายตา ความจำ ปัญหาด้านภาษาที่ระบุไม่ชัดเจนและเป็นภาษาต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อเราทราบถึงพฤติกรรมดังกล่าวแล้วก็จะได้มีการวางแผนในการดูแลผู้ป่วยและหาแนวทางแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อไป

คำสำคัญ : พฤติกรรมการใช้ยา

Published

2020-08-20

Versions

Issue

Section

Original Article