This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

At-home Continuous Care Model Development Focusing on Holistic Cares for Disability Elders in Chaiyaphum Province = การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่เน้นการดูแลแบบองค์รวม ในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดชัยภูมิ

Authors

  • Churaiwan Srisaknok

Abstract

Abstract

The purpose of this action research was to study the continuous care model at home that focuses on holistic care for disability elders in Chaiyaphum Province. The study which was conducted during October 2019 to January 2020. The sample consisted of 95 disability elders and 90 elderly care team. The research instruments consisted of the elderly Assessment Questionnaire and Semi-Structured Questionnaire. Analyze quantitative data by frequency distribution and percentage. Qualitative data, content analysis.

                The results found that the continuous care model at home that focuses on holistic care for disability elders in Chaiyaphum Province is as follows 1) There is a care plan by analyzing the situation and problems together with the community in health care planning 2) Implementation of the plan, screening training for elderly care managers and elderly caregivers. As well as having appropriate care manuals that can be put into practice and there is a way to forward urgent care or consult with care 3) Have work tracking continuous evaluation of performance, There is suppose for care. 4) There is a forum to exchange experiences in caring for disability elders. Then analyze the advantages and disadvantages of operations in order to improve operations and are suitable for the real context. From the ongoing development of home care models that focus on holistic care for disability elders, it is found that
Elderly in need are visited by a health care team. Who are attentive, enthusiastic and have skills to look after elderly people who are more dependent on bed addiction groups Have skills, knowledge, and confidence in service able to assess health status and provide basic care for the elderly and can refer to urgent cases. At the same time, found that the elderly who are dependent and the care team are satisfied with the holistic health care, there is network work. There are ongoing health care guidelines for elderly people with increased disability. Elderly people who are disability are encouraged to take care of their health. Fight illness with encouragement from the family and the health team that understands what the elderly are facing, born as a power to change behavior in self-care, can help themselves. As a result, disability elders have a good quality of life suitable for the context in which each person and able to appropriately expand to other areas.

Keywords: continuous care, holistic care, elders with disabilities


บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่เน้นการดูแลแบบองค์รวมในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดชัยภูมิ ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2562 – มกราคม 2563 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 95 คน และทีมผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 90 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินผู้สูงอายุ แบบสอบถาม และแนวคำถามกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่และร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่เน้นการดูแลแบบองค์รวมในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดชัยภูมิมีดังนี้ 1) มีการวางแผนการดูแลโดยการวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาร่วมกันกับชุมชนในการวางแผนการดูแลสุขภาพ 2) การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ มีการคัดกรอง การจัดอบรมให้ความรู้สำหรับผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนมีคู่มือการดูแลที่มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้จริงและมีแนวทางการส่งต่อการดูแลกรณีเร่งด่วนหรือปรึกษาการดูแล 3) มีการติดตามงาน ประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีสิ่งสนับสนุนสำหรับการดูแล 4) มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จากนั้นวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการดำเนินงานเพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นและมีความเหมาะสมกับบริบทอย่างแท้จริง จากการดำเนินงานพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่เน้นการดูแลแบบองค์รวมในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการเยี่ยมบ้านโดยทีมผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ที่มีความใส่ใจกระตือรือร้นและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดเตียงเพิ่มมากขึ้น มีทักษะความรู้ทำให้มั่นใจในการให้บริการ สามารถประเมินภาวะสุขภาพและดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น ตลอดจนสามารถส่งต่อกรณีเร่งด่วนได้ ขณะเดียวกัน พบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และทีมผู้ให้บริการดูแลมีความพึงพอใจในการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม มีการทำงานที่เป็นเครือข่าย มีแนวทางการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ชัดเจนเพิ่มมากขึ้น ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีกำลังใจในการดูแลสุขภาพ ต่อสู้กับความเจ็บป่วย โดยกำลังใจได้มาจากคนภายในครอบครัวและทีมสุขภาพที่เข้าใจในสิ่งที่ผู้สูงอายุกำลังเผชิญอยู่เกิดเป็นพลังเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมาะสมกับบริบทที่เป็นอยู่ของแต่ละบุคคล และสามารถนำไปขยายผลพื้นที่อื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม

คำสำคัญ: การดูแลต่อเนื่อง, การดูแลแบบองค์รวม, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

Published

2020-08-20

Versions

Issue

Section

Original Article