This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

Factors related to recognition performance evaluation of civil servant Chaiyaphum Hospital : เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ของข้าราชการที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชัยภูมิ

Authors

  • Thippawan Chaleeewong

Abstract

Abstract   

                The objective of a cross-sectional analytic research to study 1) the recognition performance evaluation of civil servant Chaiyaphum Hospital 2) the factors related to recognition performance evaluation of civil servant Chaiyaphum Hospital . Data collection from random sampling 279 person of official Chaiyaphum Hospital and data was analyzed by computer program using descriptive statistics including frequency, percentage, average, standard deviation and Pearson  product  moment  correlation to test the hypotheses by statistical significance at the level 0.05.

                The results were as follows.The recognition performance evaluation of civil servant Chaiyaphum Hospital at middle level ( = 3.18, S.D.=0.546 ) and all issues at middle level. The factors related to recognition performance evaluation of civil servant Chaiyaphum Hospital found 1) The human factors were age, education, operating time, income and role in performance evaluation appraisal had statistical significant correlation with factors related to recognition performance evaluation of civil servant Chaiyaphum Hospital at the level 0.05 ( r= 0.268, p-value = 0.001), ( r= -0.132, p-value= 0.028 ), ( r = 0.259, p-value= 0.001), ( r= 0.184, p-value= 0.002 ), ( r= 0.165, p-value=0.006 ) respectively 2) another factors were leader experience, training or meeting experience, self-research, feel performance appraisal was important and knowledge and understanding about performance evaluation of civil servant, had statistical significant correlation with factors related to recognition performance evaluation of civil servant Chaiyaphum Hospital at the level 0.05 ( r= 0.162, p-value = 0.007 ), ( r= 0.182, p-value = 0.002 ), ( r = 0.453, p-value = <0.001 ), ( r = -0.153, p-value=0.010 ) ( r = 0.134, p-value=0.025 ) respectively.

Keywords : Factors related to recognition performance evaluation 

 

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชัยภูมิ  เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชัยภูมิ  จำนวน 279 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จจากคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้  ได้แก่  การแจกแจงความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่านัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชัยภูมิ อยู่ในระดับปานกลาง กลาง  ( = 3.18, S.D. = 0.546 ) และทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ การรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชัยภูมิ 1) ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ  ระดับการศึกษา  อายุการปฏิบัติราชการ  รายได้  และบทบาทในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( r= 0.268, p-value = 0.001), ( r= -0.132, p-value= 0.028 ),  ( r = 0.259, p-value= 0.001), ( r= 0.184, p-value= 0.002 ), ( r= 0.165, p-value=0.006 ) 2)ปัจจัยด้านอื่นๆ ได้แก่ ประสบการณ์ในการเป็นหัวหน้า ประสบการณ์ในการประชุม/อบรม  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ความรู้  การเห็นความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติราชการและความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลปฏิบัติราชการ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชัยภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( r = 0.162, p-value = 0.007 ), ( r = 0.182, p-value = 0.002 ), ( r = 0.453, p-value = <0.001 ), ( r = -0.153, p-value=0.010 ), ( r = 0.134, p-value=0.025 ) ตามลำดับ

คำสำคัญ : การรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการ

Published

2020-08-20

Versions

Issue

Section

Original Article