This is an outdated version published on 2021-08-02. Read the most recent version.

ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนจากครอบครัวร่วมกับคู่หูดูแลกันต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

Effect of the family support with buddy care program on the care of schizophrenia patients with high risk to violence in Khonsawan district, Chaiyaphum Province

ผู้แต่ง

  • โรจกร ลือมงคล Khonsawan hospital, Chaiyaphum province

บทคัดย่อ

 การวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียวแบบวัดซ้ำนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนจากครอบครัวร่วมกับคู่หูดูแลกันต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ในช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2564 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงจำนวน 32 คน ซึ่งถูกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดอาการทางจิต Brief Psychiatric Rating Scale (BPRS) และการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ One-way repeated measures ANOVA และ Binomial exact probability test

ผลการศึกษา : พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนอาการทางจิตของกลุ่มตัวอย่างหลังได้รับโปรแกรม 1 เดือน (= 34.65, SD = 8.53) และ 3 เดือน ( = 31.96, SD = 7.42) ต่ำกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม (= 39.09, SD = 10.49) และความแตกต่างนั้นมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1.21,37.74 = 17.75, p < 0.001) นอกจากนั้นแล้วยังพบว่า หลังได้รับโปรแกรม 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างมีอัตราการกำเริบซ้ำลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.031) ในขณะที่อัตราความร่วมมือในการกินยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.016)

ผลของการศึกษานี้บ่งชี้ว่า โปรแกรมแรงสนับสนุนจากครอบครัวร่วมกับคู่หูดูแลกันมีประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ดังนั้นควรนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้ในสถานบริการอื่นๆ ต่อไป

 คำสำคัญ: แรงสนับสนุนจากครอบครัว คู่หูดูแลกัน จิตเภท ความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง 

 

The purpose of this quasi-experimental study (One-group with repeated measures design) was to investigate the effect of family support with buddy care program on the care of schizophrenia patients with high risk to violence in Khonsawan district, Chaiyaphum province during January to March 2021. The samples consisted of 32 schizophrenia patients who were selected by purposive sampling. The instruments were the Brief Psychiatric Rating Scale (BPRS), and clinical outcome assessment. Data were analyzed using One-way repeated measures ANOVA, and Binomial exact probability test.

After evaluated the psychiatric symptoms of patients by using BPRS found that the mean scores of psychiatric symptoms at 1-month post receiving the program (= 34.65, SD = 8.53) and 3-month post receiving the program ( = 31.96, SD = 7.42) were both lower than the scores at baseline (= 39.09, SD = 10.49). The mean scores of psychiatric symptoms were significantly different (F1.21,37.74 = 17.75, p < 0.001). Additionally, after 3-month post receiving the program, the clinical outcome such as relapse rate were reduced significantly (p = 0.031) whereas, the drug adherence rate was improved significantly (p = 0.016).

            The results showed that the family support with buddy care program was effective in caring of schizophrenia patients with high risk to violence. Therefore, this program should be implemented for other service setting.

Keywords: family support, buddy care, schizophrenia, high risk to violence

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-02

เวอร์ชัน