การพัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • นันทพร อ่อนชัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ
  • สุภวิทย์ บุญขันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การประเมินคุณภาพ, รูปแบบ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเมินผล (Evaluation Research) โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมที่ใช้ทั้งการวิจัย   เชิงคุณภาพและปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการประเมินคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ การวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ มีประชากรและกลุ่มตัวอย่างตามระยะการวิจัย ดังนี้ ระยะที่ 1 สร้างและพัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เจาะจงเลือกจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านรูปแบบ จำนวน 12 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ และประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ เจาะจงเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน เก็บข้อมูลด้วยการสอบถาม ระยะที่ 2 ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการประเมิน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ประเมินคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประชากรเป็นผู้ประเมิน จำนวน 160 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากเกณฑ์ ร้อยละ 25 สุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน 2) กลุ่มผู้ถูกประเมิน ประชากรเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 167 แห่ง กลุ่มตัวอย่างกำหนดจากเกณฑ์ ร้อยละ 25 สุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน เก็บข้อมูลด้วยการสอบถาม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นสำหรับการสร้างและพัฒนารูปแบบ 2) แบบสอบถามสำหรับการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ  การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการประเมินคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วางแผนการประเมิน ขั้นตอนที่ 2 ประเมินตนเอง ขั้นตอนที่ 3 ประเมินตรวจเยี่ยมเสริมพลัง ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรับรองคุณภาพ ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลการประเมิน 2) รูปแบบการประเมินคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ มีความเหมาะสมในระดับ     ดีมาก (X = 4.57, S.D. = 0.22) 3) ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการประเมิน     ระดับมากที่สุด (X = 4.61, S.D. = 0.18 และ (X = 4.54, S.D. = 0.23 ตามลำดับ) ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.57, S.D. = 0.22)

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต. ติดดาว) ปี 2562. นนทบุรี: สำนักสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

พัฒนา พรหมณี, ศรีสุรางค์ เอี่ยมสะอาด, และ ปณิธาน กระสังข์. (2560). แนวคิดการสร้างและพัฒนารูปแบบ เพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขสาหรับนักสาธารณสุข. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2):128-35.

อลงกรณ์ มีสุทธา และสมิต สัชฌุกร. (2546). การประเมินผลการปฏิบัติงาน. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Morse MC. (1958). Satisfaction in the White Job. Michigan: University of Michigan Press.

Good CV. (1973). Dictionary of Education. (3rd ed). New York: McGraw-Hill Book.

Wolman TE. (1973). Education and Organizational Leadership in Elementary Schools. New Jersey: Prentice-Hall.

Davis FB. (1981). Education Measurement and Their Interpretation. California: Wadsworth.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

ณัฐวุฒิ วังคะฮาต. (2558). รูปแบบการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ พื้นที่อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร. มหาสารคาม: วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คมวัฒน์ รุ่งเรือง. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. เชียงใหม่: วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วีระศักดิ์ ลันสี. (2557). การพัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-23