ปฏิรูปการดูแลผู้ป่วยข้างเตียง : เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของพยาบาล ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา

ผู้แต่ง

  • ศันสนีย์ ชัยบุตร กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์ กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • พิศมัย สุนาโท หอผู้ป่วยอายุรกรรมรวม โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • สุดใจ แจ่มจำรัส หอผู้ป่วยอายุรกรรมรวม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ปฏิรูปการดูแลผู้ป่วยข้างเตียง, ความร่วมมือของพยาบาล, การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา

บทคัดย่อ

การติดเชื้อในโรงพยาบาลจากเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาที่พบมากขึ้น พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา

วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติของพยาบาลในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา และอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาระหว่างก่อนและหลังการส่งเสริมการปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลในหอผู้ป่วยอายุรกรรม 2 แห่ง จำนวน 51 คน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ถึง เมษายน 2564 โดยใช้แนวคิดการปฏิรูปการดูแลผู้ป่วยข้างเตียง (Transforming Care at the Bedside: TCAB)

วิธีดำเนินการศึกษา:  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติ แบบบันทึกอุบัติการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบไคว์สแควร์

ผลการศึกษา:  พบว่าหลังได้รับการส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวคิดการปฏิรูปการดูแลผู้ป่วยข้างเตียง กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาที่ถูกต้อง มากกว่าก่อนได้รับการส่งเสริมการปฏิบัติจาก ร้อยละ 44.3 เป็น ร้อยละ 80.0 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) อุบัติการณ์การติดเชื้อในโรงพยาบาลจากเชื้อดื้อยาลดลงจาก 1.36 เป็น 0.97 ต่อ 1,000 วันนอน

สรุปผล: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปการดูแลผู้ป่วยข้างเตียง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของพยาบาลในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาช่วยลดอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาได้

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Antimicrobial resistance global report on surveillance. [Internet]. 2014. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/ 10665/112642/9789241564748_eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y [cited 2020 Jan 10‎].

Centers for Disease Control and Prevention. (2019). Antibiotic resistance threats in the United States. [Internet]. ‎2019. Available from: https://www.cdc.gov/drugresistance/pdf/threats-report/2019-ar-threats-report-508.pdf [cited 2020 Jan 10‎].

European Centre for Disease for Prevention and Control. Summary of the latest data on antibiotic resistance in the European Union. [Internet]. ‎2014. Available from: https://www.ecdc.europa.eu/sites/portal/files/media/en/publications/Documents/antibiotic-resistance-in-EU-summary.pdf [cited 2020 Jan 10‎]

Shenoy ES, Paras ML, Noubary F, Walensky RP, Hooper DC. Natural history of colonization with methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) and vancomycin-resistant Enterococcus (VRE): a systematic review. BMC Infectious Disease, 2014;14(1):177-89.

Morgan DJ, Rogawski E, Thom KA, Johnson JK, Perencevich EN, Shardell M, et al. Transfer of multidrug-resistant bacteria to healthcare workers’ gloves and gowns after patient contact increases with environmental contamination. Crit Care Med, 2012;40(4):1045–51.

Knoester M, De Boer MG, Maarleveld JJ, Claas EC, Bernards AT, de Jonge E, et al. An integrated approach to control a prolonged outbreak of multidrug-resistant Pseudomonas aeruginosa in an intensive care unit. Clin. Microbiol. Infect, 2014;20(4):O207-15.

Centers for Disease Control and Prevention. Management of multidrug-resistant organisms in healthcare setting. [Internet]. ‎2006. Available from: https://www.cdc.gov/infectioncontrol/pdf/guidelines/mdro-guidelines.pdf [cited 2020 Jan 12].

Dhar S, Marchaim D, Tansek R, Chopra T, Yousuf A, Bhargava A, et al. Contact precautions more is not necessarily better. [Internet]. ‎2014. Available from: https://www.mc.vanderbilt.edu/documents/infectioncontrol/files/Dhar%20Contact%20Precautions%20ICHE%202014.pdf [cited 2020 Jan 12]

สมฤดี ชัชเวช, รุ่งฤดี เวชวนิชสนอง, กุสุมา บุญรักษ์, ไพจิตร มามาตย์, ไพรัช พิมล, สุพรรษา บุญศรี. ผลของการนำแนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาไปใช้ ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 2560;31(4):697-708.

Institute for Healthcare Improvement (IHI). Transforming Care at the Bedside (TCAB) How-to Guide: Spreading Innovations to Improve Care on Medical and Surgical Units. Cambridge. [Internet]. ‎2008. Available from: http://forces4quality.org/af4q/download-document/3981/Resource-TCABSpreadingInnovationsHowtoGuideSep09.pdf [cited 2020 Jan 12].

Attachit K, Jaidee U, Tuandoung P, Kamswang, N. Results of Transforming Care at Bedside (TCAB) nursing program on the occurrence of unplanned extubation. Buddhachinaraj Med J, 2020;37(2):128-35.

John ME, Samson-Akpan PE, Nsemo AD. Transforming nursing care at patients' bedside in low resource settings: A Study of four hospitals in southern Nigeria. Nur Primary Care, 2021;5(3)02:1-6.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. สรุปผลการดำเนินงานประจำปีการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ 2562. ชัยภูมิ: งานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลชัยภูมิ, 2562.

Livshiz-Riven I, Borer A, Nativ R, Eskira S, Larson E. Relationship between shared patient care items and healthcare-associated infections: a systematic review. Int J Nurs Stud, 2015;52(1):380-92.

McDonald EG, Dendukuri N, Frenette C, Lee TC. Time-series analysis of health care–associated infections in a new hospital with all private rooms. JAMA internal medicine, 2019;179(11):1501-6.

Stiller A, Salm F, Bischoff P, Gastmeier P. Relationship between hospital ward design and healthcare-associated infection rates: a systematic review and meta-analysis. Antimicrob Resist Infect Control, 2016;5(1):1-10.

พรพิมล อรรถพรกุศล, พรนภา เอี่ยมลออ, จิราภรณ์ คุ้มศรี, สินจัย เขื่อนเพชร, นิภาพร ช่างเสนา, นัยนา วัฒนากูล. ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. APHEIT Journal of Nursing and Health, 2021;3(3):e2685.

Burston S, Chaboyer W, Gillespie B, Carroll R. The effect of a transforming care initiative on patient outcomes in acute surgical units: a time series study. Journal of Advanced Nursing, 2015;71(2):417-29.

O'Hara LM, Nguyen MH, Calfee DP, Miller LG, Pineles L, Magder LS, et al. CDC Prevention Epicenters Program. Risk factors for transmission of carbapenem-resistant Enterobacterales to healthcare personnel gloves and gowns in the USA. Journal of Hospital Infection, 2021;109:58-64.

Sreshtaa VS, Geetha RV. Role of Hand washing and Hand Sanitising in Preventing Infection. Annals of the Romanian Society for Cell Biology, 2021;724-37.

Needleman J, Pearson ML, Upenieks VV, Yee T, Wolstein J, Parkerton M. Engaging frontline staff in performance improvement: the american organization of nurse executives implementation of transforming care at the bedside collaborative. Jt Comm J Qual Patient Saf, 2016;42(2):61-9.

Kasatpibal N, Chittawatanarat K, Nunngam N, Kampeerapanya D, Duangsoy N, Rachakom C, et al. Impact of multimodal strategies to reduce multidrug‐resistant organisms in surgical intensive care units: Knowledge, practices and transmission: A quasi‐experimental study. Nursing open, 2021;8(4): 937-46.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30 — อัปเดตเมื่อ 2022-12-30

เวอร์ชัน